พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ในจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร เรืองฤๅหาร -
  • วรินท์มาศ เกษทองมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วุธิพงศ์ ภักดีกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวาน , โควิด19

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในจังหวัดสกลนคร จำนวน 347 คน ระหว่างเดือนมีนาคม-ธันวาคม 2564 รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันพฤติกรรมการป้องกัน
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ในจังหวัดสกลนคร ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด

 ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.20 มีอายุเฉลี่ย 69 ปี (SD = 6.90) ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ยน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 66.30 ไม่มีโรคแทรกซ้อน ร้อยละ 79.00 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.80 มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 54.80 มีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.00 และมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.70

References

WHO, & China. (2020). Report of the WHO-China joint mission on coronavirus disease 2019 (COVID-19). Brazilian Journal of Implantology and Health Sciences, 2(3).

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). ความรู้พื้นฐาน COVID-19 ตอน ที่ ๑ โรคโควิด-19 การติดเชื้อ การป่วย การดูแลรักษา การป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อ แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564 จาก http://phoubon.in.th/covid-19.pdf.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. ( 2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด:

Kedthongma W. & Phakdeekul W. (2022). Effects on Mental Health and Subjective Well-being of Thai Marriages with Foreigners During COVID-19 Pandemic. Positive Psychology and Wellbeing, 6(1), 863-870.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. (2564). สืบค้นเมื่อ 30พฤษภาคม 2564 จาก https://www.moicovid.com/.

Bode, B., Garrett, V., Messler, J., McFarland, R., Crowe, J., Booth, R., & Klonoff, D. C. (2020). Glycemic characteristics and clinical outcomes of COVID-19 patients hospitalized in the United States. Journal of diabetes science and technology, 14(4), 813-821.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2564). งานผู้สูงอายุ และ โรคเรื้อรัง.สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564 จาก https://snk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ15 ตุลาคม 2564 จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf.

นารีมะห์ แวปูเตะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ และ กัลยา ตันสกุล. (2564). พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 31-39.

ระวิ แก้วสุกใส, รังสฤษฎ์ แวดือราแม, พรทิวา คงคุณ, อัชฌา สุวรรณกาญจน์ และ กรรณภา ไชยประสิทธิ์ (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 67-79.

ภัคณัฐ วีรขจร, ภัคณัฐ วีรขจร,โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพร เนาว์สุวรรณ์ และนภชา สิงห์วีรธรรม (2564). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 106-117.

Liu, X. J., & Mesch, G. S. (2020). The adoption of preventive behaviors during the COVID-19 pandemic in China and Israel. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(19), 7170.

มาลี เกื้อนพกุล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของบุคลากรและนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. Nursing Journal of the Ministry of Public Health NJPH, 31(2), 81.

ชลลดา บุตรวิชา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของผู้สูงอายุในชมรมเสริมสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต / ศิลปศาสตร์), มหาวิทยาลัยเกริก.

ณัฐวรรณ คำแสน. (2021). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของราษฎรที่อาศัยอยู่ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2564

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน

โควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604.

จรรยา ธัญน้อม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 9(1), 34-46

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02