ปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สะไกร กั้นกางกูล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนมัธยมตอนปลาย ในจังหวัดหนองบัวลำภู วิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 381 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ ใช้สถิติ t – test วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา มีนักเรียนดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 35.70 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ภาพรวมขององค์ประกอบปัจจัย อยู่ระดับปานกลาง ด้านส่วนบุคคล

อยู่ระดับมาก ด้านทัศนคติ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ระดับปานกลาง สถานที่ดื่ม ความถี่ของการดื่ม ปริมาณการดื่ม และลักษณะการดื่ม นั้นอยู่ในระดับน้อย การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างนักเรียนชายกับหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักเรียนชายมีการดื่มมากกว่านักเรียนหญิง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนด้านทัศนคติ การมีส่วนร่วม และ
ด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ จากการวิเคราะห์ Regression สามารถสมการพยากรณ์การดื่มแอลกอฮอล์ ดังนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ = 0.799 + 0.405 ด้านทัศนคติ + 0.221 ด้านการมีส่วนร่วม + 0.218 ด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อเสนอแนะ ควรที่จะจัดให้มีกิจกรรมในการปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ถูกต้อง สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกด้าน เข้าไปในหลักสูตร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรที่จะต้องร่วมกันในการดำเนินการพัฒนาปรับปรุง แก้ไข ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557. กลุ่มสถิติประชากรและสังคม สำนักงานสถิติเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ; 2557.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์; 2551.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560.

บัณฑิต สอนไพศาล.รายงานสถานการณ์สุราประจำปี พ.ศ.2553.นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2553.

เอกชัย กันธะวงศ์.การพัฒนาการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียน. วารสารพยาบาล สาธารณสุข. 2558; ปีที่ 42 ฉบับที่ 3 : 135 – 46.

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

วัลภา กุณฑียะ.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนอาชีวศึกษาชาย จังหวัดชัยนาท.ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

จงจิต ปินศิริ. การพัฒนานโยบายสาธารณะลดการบริโภคสุรา อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ปี 2550. พุทธชินราชเวชสาร. 2551; ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 : 741 – 50.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร์พริ้นท์ ; 2549.

รุจาภา จิระประดษฐ์ผล. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ของนักดื่มหน้าใหม่ ในนักเรียนมัธยม.วารสารพยาบาล สาธารณสุข. 2561; ปีที่ 32ฉบับที่ 2 : 155 – 69.

สุทธิรักษ์ ไชยรักษ์. พฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2551. สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ; 2551

ภรณี แก้วลี. ศึกษาพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมเสี่ยงกับการคบเพื่อน และการปกป้องของครอบครัว ในนักเรียนมัธยมศึกษาโครงการกิจกรรมพัฒนาตนเอง. มหาวิทยาลัยราชธานี; 2556

Bandura, Albert. Self – efficacy the exercise of control. New York : W.H. Freeman; 1997.

สมาน ฟูตระกูล. สุขภาพและปัญหาจากแอลกอฮอล์. นนทบุรี : กราฟฟิคแมส; 2547.

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า. กองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

ศิตาพร ยังคง. การศึกษาทบทวนการดำเนินการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2540 – 2550. กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

ประไพรัตน์ คาวินวิทย์.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตปริญญาตรี สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.

ซิ่วฮวย แซ่ลิ้ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. Songklangarind Journal of Nursing. 2560 ; ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 : 25 – 36.

ธนัญญา สุทธวงศ์. การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

ปรียาภรณ์ ประยงค์กุล. แนวทางในการป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นไทยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2563; ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 : 39 – 46.

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนรอบสถานศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการสาธารณสุข 2561 ; ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 : 180 – 88.

อัมมันดา ไชยกาญจน์.พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุทธยา . วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 2560; ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 : 103 – 13.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2558. กลุ่มสถิติประชากรและสังคม สำนักงานสถิติเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ; 2558.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชนไทย. รายงานการวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการตรวจราชการและการนิเทศงานกรณีปกติจังหวัดหนองบัวลำภู ประจำปีงบประมาณ 2564. จาก http//:www.nongbualamphu.go.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02