ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครพนม ในสถานการณ์การระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ขันชัย ขันทะชา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ความเครียด, บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเครียดและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครพนม ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุโลจิสติก

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 42.41 รองลงมา ความเครียดระดับสูง และระดับรุนแรงคิดเป็นร้อยละ 35.08 และ 18.85 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่ เพศ  (OR adj = 2.15, 95% CI: 1.06–4.36) การใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเอง (PPE) (ORadj = 3.34, 95% CI: 1.56–7.15) ปัจจัยด้านโครงสร้างและบรรยากาศองค์กร (ORadj = 6.9, 95% CI: 1.42–33.52) และปัจจัยด้านปัญหานอกเหนือจากงาน (ORadj = 3.22, 95% CI: 1.68–6.16)

ดังนั้น หน่วยงานสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางเพื่อลดความเครียดโดยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่พบว่ามีความเครียดในระดับน้อยถึงปานกลางในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานด้านการควบคุมการระบาดของโรค อีกทั้งควรมีการจัดการคัดกรองและวางแนวทางเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงที่มีความเครียดสูงถึงรุนแรง อาจช่วยป้องกันในเรื่องของปัญหาทางสุขภาพจิตบุคลากรทางการแพทย์ได้

References

Cucinotta D, Vanelli M. WHO Declares COVID-19 a Pandemic. Acta bio-medica 2020; 91(1): 160–157.

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2022 [cited 2022 July 21, 2022]. Available from: https://covid19.who.int/

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

กรมควบคุมโรค. ประเมินความเสี่ยงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/ situation/situation-no718-211264.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. สถานการณ์ COVID-19 จังหวัดนครพนม. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid.nakhonphanom.go.th/news/detail/716.

กระทรวงสาธารณสุข. โควิด-19: สธ.ประกาศไทยเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 5 ยกระดับเตือนภัยเป็นเกือบสูงสุด. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-59890726.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจทุกระดับ : ผู้ประสบภาวะวิกฤตในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลจิตใจบุคลากรทางการแพทย์ในการทำงานดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/covid19/

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงาน ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบภาวะวิกฤตในกรณีการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/view.asp?id=1

Elbay RY, Kurtulmuş A, Arpacıoğlu S, Karadere E. Depression, anxiety, stress levels of physicians and associated factors in Covid-19 pandemics. Psychiatry research 2020; 290: 113130.

ชาริณี อิ่มนาง, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี, ลำไย แสบงบาล. ความเครียดของบุคลากรด้านวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรค COVID-19.

ศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36(3): 352-347.

จารุวรรณ ประภาสอน. ความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564; 15(38): 483-469.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998; 17: 1623-34.

Zheng R, Zhou Y, Qiu M, Yan Y, Yue J, Yu L, et al. Prevalence and associated factors of depression, anxiety, and stress among Hubei pediatric nurses during COVID-19 pandemic. Comprehensive psychiatry 2021; 104: 152217.

Hosmer DW, Lemeshow S. Applied Logistic Regression. New York: Wiley; 2000.

Best JW. Research in Education. Englewood cliff, CA: Prentice –Hall; 1981.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมพ์มาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.

กรมสุขภาพจิต. 4 ระดับความเครียด กับ 5 เทคนิคสร้างความสมดุลตามสูตร R E L A X. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.dmh.go.th/news-dmh/ view.asp?id=30438.

กระทรวงสาธารณสุข. โควิด-19: สธ.ประกาศไทยเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 5 ยกระดับเตือนภัยเป็นเกือบสูงสุด. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/ thai/thailand-59890726.

สิมาพร พรมสาร, ปิยะณัฐ พรมสาร, กนกวรรณ รัตนแสงเลิศ. ความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศิริราชระหว่างการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เวชสารแพทย์ทหารบก 2564; 74(3): 204-197.

พรนิภา หาญละคร, ธารินี เพชรรัตน์, นิภาพรรณ ฤทธิรอด, สุดถนอม กมลเลิศ. ความเครียด ความกังวล และผลกระทบของบุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36(4): 494-488.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์, กุลภัสร์ชา มาอุ่น, พลอยณญารินทร์ ราวินิจ, อานันตยา ป้องกัน. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส-2019 ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2565; 17(1): 125-111.

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารแพทย์เขต 4-5 2563; 39(4): 627-616.

พัฒนวดี เรืองจำเนียร, ณรงค์ณ เชียงใหม่, รพีพร เทียมจันทร์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสนับสนุนโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร 2556; 9(2): 110-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02