ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะซึมเศร้า, ปัจจัยที่ส่งผล, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล ความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน การติดอินเตอร์เน็ต ความแข็งแกร่งในชีวิต และภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น แบบสอบถามแต่ละชุดมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93, 0.70, 0.82, 0.88 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.60 ไม่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 34.40 เข้าข่ายภาวะซึมเศร้า ตัวแปรที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้ คือ เพศ (β = 3.090, p<0.001) ความผูกพันในครอบครัว (β = -0.243, p<0.001) การติดอินเตอร์เน็ต (β = 0.887, p<0.001) และความแข็งแกร่งในชีวิต (β = -0.173, p<0.001) โดยส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 41.50 (R2 = 0.415, p<0.001)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เพศ ความผูกพันในครอบครัว การติดอินเตอร์เน็ต และความแข็งแกร่งในชีวิต มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ดังนั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาและสาธารณสุข จึงควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านความผูกพันในครอบครัว ลดปัญหาการติดอินเตอร์เน็ต และเพิ่มความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษา เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า และยังช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในนักเรียนอีกด้วย
References
ศรีเรือน แก้วกังวาล. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2551.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ยูนิเซฟ-กรมสุขภาพจิต ชี้โควิด-19 ทำสุขภาพจิตเด็กไทยแย่ต่อเนื่อง. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31160
Stuart, G. W. Principles and practice of psychiatric nursing. 9th ed. St. Louis: Elsevier Mosby; 2009.
วัชรินทร์ กระแสสัตย์. ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเพณีครอบครัว ความผูกพันในครอบครัวกับความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี; 2554.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
Young, K. S. Psychology of computer use: XL addictive use of the internet a case that breakes stereotype. Psychological Report 1996; 79: 899-902.
วริศรา เรืองทวี และพรรษ โนนจุ้ย. สัดส่วนและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงการติดสื่อสังคมออนไลน์ในนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15(1):28-42.
นัชชา ยันติ และกริช เรืองไชย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเสี่ยงการเสพติดสมาร์ทโฟนในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพ 2561;11(3):324-331.
Yamane, T. Statistics: An Introductory Analysis. Singapore: Harper International Edition; 1960.
อุมาพร ตรังคสมบัติ, วชิระ ลาภบุญเพิ่ม และปิยลัมพร หะวานนท์. การใช้ CES-D ในการ
คัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540;42(1): 2-13.
สุนันท์ เสียงเสนาะ, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ และเวทิส ประทุมศรี. อิทธิพลของปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560;33(3):59-69.
Cyranowski, M.J. Adolescent onset of the gender difference in lifetime rates of major depression. Arch Gen Psychiatry 2000; 57:21-26.
อัญมณี มณีนิล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี; 2563.
ฐิตินันท์ ผิวนิล และพิมลพรรณ อิศรภักดี. พฤติกรรมการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีกับภาวะสุขภาพใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี. 2558;34(2):134-149.
Pantic I, Damjanovic A, Todorovic J, Topalovic D, Bojovic-Jovic D, Ristic S, et.al. ASSOCIATION BETWEEN ONLINE SOCIAL NETWORKING AND DEPRESSION IN HIGH SCHOOL STUDENTS: BEHAVIORAL PHYSIOLOGY VIEWPOINT. Psychiatria Danubina 2012; 24(1): 90-93.
ธันยวนันฐ์ เลียนอย่าง, ศรัณย์ พิมพ์ทอง และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12(1):121-131.
โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และจุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นด้อยโอกาสไทยในจังหวัดหนึ่งภาคกลาง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561;32(2):
-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น