การประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ในกลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
การสัมผัสสิ่งคุกคาม, การรับรู้, พฤติกรรมความปลอดภัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน และพฤติกรรมการป้องกันตนเองในกลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 108 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้
ไคสแควร์หรือฟิชเชอร์
ผลการวิจัย พบว่า คนงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30-44 ปี มีชั่วโมงการนอนหลับ7-8 ชั่วโมง ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง มีอายุงาน 10 ปีขึ้นไป มีชั่วโมงการทำงาน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ คนงานมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอันตราย มาตรฐานความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับดี มีการสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทำงานระดับปานกลาง มีการรับรู้ภาวะสุขภาพจากสิ่งคุกคามจากการทำงานในระดับต่ำ และมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานระดับดี ทั้งนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพการสมรส การสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานด้านการยศาสตร์ และการรับรู้ภาวะสุขภาพจากการสัมผัสสิ่งคุกคามทางด้านการยศาสตร์เท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
จากผลการศึกษา จึงควรส่งเสริมให้มีการความรู้เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความตระหนัก เพื่อให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่มากยิ่งขึ้น
References
นัทชา โสภาพร. มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนมอญ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. (รายงานวิจัย). การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์; 2560.
ชลาลัย หาญเจนลักษณ์. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในอาชีพการปั้นดินเผา. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2561.
สำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ กรมสวัดดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. รายงานสถานการณ์แรงงานด้านแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ ปี พ.ศ. 2559 - ปี พ.ศ. 2563.
พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี และณัฐ จันท์ครบ. การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานสายงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการผลิตขวดแก้ว. วารสารมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 4(2), 1-15.
กระทรวงแรงงาน. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554; 2554
Best, J. W. Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall ; 1997 : 190.
อภิชา ครุธาโรจน์, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, นันทพร ภัทรพุทธ และจิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงของคนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2561; 11(3), 26-34.
ชนิสรา สังฆะศรี ชญานนท์ พิมพบุตร, นิธิ ปรัสรา และภคิน ไชยช่วย. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของคนงานทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 1(1), 81-98.
สิทธิชัย ใจขาน และวราภรณ์ พันธ์ศิริ. พฤติกรรมและความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนมูลฝอย กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 21(1), 46-55.
วิพา ชุปวา, นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, วิลาวัณย์ ชาดา, กาญจนา แซ่อึง, ช่วงชัย ชุปวา. ความชุกและปัจจัย ท่าทางการทำงานที่ส่งผลต่อการเจ็บปวด โครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อในเกษตรกรกลุ่มเย็บผ้า. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(1), 17-27.
ชาตรี เชิดนาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(2), 280-289.
อารยา ปานนิล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันความเมื่อยล้าทางสายตาของผู้ปฏิบัติงานที่ใช้สายตาระยะใกล้. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(2), 37-44.
ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, วรวรรณ จันทวีเมือง, ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์ และวิกานดา หมัดอะดั้ม. การรับรู้ความเสี่ยงอันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร และพฤติกรรมการป้องกันของพนักงานถ่ายเอกสาร. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4( 2), 28-44.
Becker, M. H. The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monograpk. 1974.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น