พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ และความงามของกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ แสงสุนานนท์ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณิตชาธร ภาโนมัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหาร, ความรู้, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติของกลุ่มวัยผู้ใหญ่ ช่วงอายุ 20–59 ปี รวมทั้งสิ้น 206 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติการถดถอยพหุโลจิสติก พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.93 และเพศชาย ร้อยละ 31.07 มีความรู้การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 42.7 ทัศนคติการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.96 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารฯ เมื่อควบคุมตัวแปร คือ ปัจจัยด้านทัศนคติ (OR = 6.19, 95%CI = 2.48-15.44, P-value < 0.001) และ (OR = 2.59, 95%CI = 1.32-5.08, P-value = 0.006) จากการศึกษา พบว่า กลุ่มวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่
มีพฤติกรรมการบริโภค และการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ เพื่อบำรุงสุขภาพเป็นส่วนมาก ทัศนคติเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ ด้วยการจัดอบรมแก่ประชาชน ในประเด็นด้านทัศนคติของการบริโภค และการตัดสินใจเลือกซื้อที่ส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง

References

ชุติมา ศรีทุมมา และเบญจา มุกตพันธุ์. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558 ;8(4):6-13.

จรุง วรบุตร. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยกลางคน อำเภอศรีสวัสด์ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2550.

ชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์ และอรุณรัตน์ อรุณเมือง. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในเขตตรวจราชการที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารอาหารและยา 2556 ;20(1):38-47.

ดารณี หมู่ขจรพันธ์. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารข้อเท็จจริงที่ควรรู้. For Quality 2551 ;14(123):91-93.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ตั้ม บุญรอด และวิชชาดา สิมลา. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สมุนไพร

ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555 ;7(2):25-37.

Euromonitor International. Vitamins and dietary supplements. [Internet]. 2021 [cited 2021 August 25]. Available from: http://www.euromonitor.com

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.

ฉัตยาพร เสมอใจ. พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพมหานคร: วีพริ้นท์; 2550.

จิราภา โฆษิตวานิช. พฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสุขภาพของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม; 2554.

Del-Balzo, V., Vitiello, V., Germani, A., Donini, L.M., Poggiogalle, E., & Pinto, A. Acrosssectional survey on dietary supplements consumption among Italian teenagers. Plos One 2014 ;9(7):1-6.

รุ้งใหม่ ประจักษ์วงศ์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของบุคลากรในโรงพยาบาลสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

Troxler, D.S., Michaud, P.A., Graz, B., & Rodondi, P.Y. Exploratory survey aboutdietary supplement use: A hazardous and erratic way to improve one's health? Swiss Medical Weekly 2013 ;143(10):1-6.

สุชา จันทร์เอม. จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2540.

เนตรนภา กิจรุ่งพิพัฒน์, และอนุสรา พันธุ์นิธิทร์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ. วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.

กนิษฐา หมู่งูเหลือม. ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่ออาหารสร้างสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

ศรากุล สุโคตรพรหมี และคณะ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของคนวัยทำงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2550.

เสกสรรค์ วีระสุข และ วรางครา อิดศรประเสริฐ. การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามิน ในกรุงเทพมหานคร. วารสารธุรกิจศรีนครินทราวิโรฒ.2557 ;5(1), 65-79.

รุจิราวัลย์ ศรีจินดา. เจตคติและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาปัญหาพิเศษปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2546.

Goldschmidt, A. B., Loth, K. A., MacLehose, R. F., Pisetsky, E. M., Berge, J. M., & Neumark‐Sztainer, D. Overeating with and without loss of control: Associations with weight status, weight‐related characteristics, and psychosocial health. International Journal of Eating Disorders. 2015 ;48(8).

ชมพูนุช จิตติถาวร และคณะ. ทัศนคติและพฤติกรรมการการดูแลสุขภาพและการบริโภคการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเชียเพรส; 2552.

Bloom, B.S. Taxonomy of education objective handbook. New York: David McKay; 1975.

Likert, R. The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill; 1967.

Best, W. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1997.

Evans, M.W., Ndetan, H., Perko, M., Williams, R., & Walker, C. Dietary supplement use by children and adolescents in the United States to enhance sport performance:Results of the national health interview survey. Journal of Primary Prevention 2012 ;33(1):3-12.

Sands, L.M. Dietary supplement use, perceived benefits, and sources of informationamong members of a fitness center of Western New York. Master of Science Thesis, Faculty of D'Youville, College Dietetics Buffalo, New York; 2012.

หทัยกาญจน์ โสตรดี และอัมพร ฉิมพลี. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. งานวิจัยวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10