ผลของการพัฒนาระบบบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโดยใช้ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ ต่อความคลาดเคลื่อนทางยา โรงพยาบาลบางจาก

ผู้แต่ง

  • สุทธิลักษณ์ ริ้วธงชัย โรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

ความคลาดเคลื่อนทางยา, ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์, จ่ายยาผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนทางยาในระยะก่อนและหลังการพัฒนาระบบบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โดยใช้ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ทั้งระบบ วิธีการ: การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) เก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาจากใบสั่งยา 3 ระยะ คือ ก่อนปรับระบบ (ใช้ใบสั่งยากระดาษ) การปรับระบบช่วงที่ 1 (ใช้ใบสั่งยากระดาษร่วมกับใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์) และการปรับระบบช่วงที่ 2 (ใช้ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ทั้งระบบ) แบ่งประเภทความคลาดเคลื่อนทางยา คือ การสั่งใช้ยา การถ่ายทอดคำสั่งใช้ยา และการจ่ายยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน Chi-square test

ผลการวิจัย: อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา (ต่อ 1,000 ใบสั่งยา) ก่อนและหลังพัฒนาระบบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.010) หลังพัฒนาระบบพบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง 0.82 (p-value = 0.010) อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาลดลง 0.80 (p-value = 0.010) อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการถ่ายทอดคำสั่งใช้ยาลดลง 0.026 (p-value = 0.151) และอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาเพิ่มขึ้น 0.01 (p-value = 0.928)

สรุปผลการวิจัย: การพัฒนาระบบบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโดยใช้ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ทั้งระบบสามารถลดความคลาดเคลื่อนทางยาโดยรวม และการสั่งใช้ยาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  

References

GBD 2013 Mortality and Causes of Death Collaborators. Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990–2013: a systematic analysis for the global burden of disease study 2013. Lancet 2015;385(9963):117–71.

The U.S. Food and Drug Administration. Working to reduce medication errors [Internet]. 2019 [cited 2021 Nov 27]. Available from: https://www.fda.gov/drugs/information-consumers-and-patients-drugs/working-reduce-medication-errors.

World health organization. Patient safety [Internet]. 2019 [cited 2021 Nov 27]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/patient-safety.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี; 2565.

คณะทำงานพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล. ชุดตัวชี้วัดระบบยาในโรงพยาบาล. ใน: ธิดา นิงสานนท์, เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์. ตัวชี้วัดระบบยาในโรงพยาบาล. ปรมัตถ์การพิมพ์; 2551. หน้า 40-3.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). ประกาศคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล เรื่อง มาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2564]: 1-2. เข้าถึงได้จาก URL: https://www.ha.or.th/Backend/ fileupload/มาตรฐาน/Attach/มาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย.pdf

สมปารถนา ภักติยานุวรรตน์. การเปรียบเทียบการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ระหว่างระบบสั่งจ่ายยาแบบใหม่กับระบบสั่งจ่ายยาแบบเดิมในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชัยภูมิ. เชียงรายเวชสาร 2563; 12: 99-113.

สุมิตรา สงครามศรี, มาลินี เหล่าไพบูลย์. การสั่งยาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในการลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี: Interrupted Time Series Design. ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2560;13(2):53-66.

Abramson EL, Kaushal R. Computerized Provider Order Entry and Patient Safety. Pediatr Clin N Am 2012;59:1247–55.

Kenawya AS, Kettb V. The impact of electronic prescription on reducing medication errors in an Egyptian outpatient clinic. Int J Med Inform 2019;127:80–7.

National Coordinating Council for Medication Error Report and Prevention (NCC MERP). About medication errors [Internet]. 2021 [cited 2021 Nov 27]. Available from: https://www.nccmerp.org/about-medication-errors.

ใจภัส วัดอุดม. การพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยในเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2563;26:24-38.

อัญชลี อังศธรรมรัตน์, สุจิตรา ตั้งมั่นคงวรกุล. ผลของการคัดกรองคำสั่งใช้ยาและอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2564;18(1):1-10.

ณฐมน สุคนนท์, วรางคณา สีมาพล, มนัสนันท์ วงษ์ครุธ, น้ำทิพย์ คงนิล, นิชาภา ทองศรี, ธีราพร สุภาพันธุ์. การพัฒนาระบบคัดกรองใบสั่งยาแผนกผู้ป่วยในเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี. ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2564;17(3):25-38.

สายใจ ศาลาสุข, สงครามชัย ลีทองดี, รับขวัญ เชื้อลี. กระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการเภสัชกรรมเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจัดยาก่อนจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2562;8(2):68-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-14