การประเมินความเสี่ยงของท่าทางการทำงานและความเมื่อยล้าของพนักงานเก็บขยะ ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การประเมินความเสี่ยง, ความเมื่อยล้า, อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงท่าทางการทำงาน ความเมื่อยล้าจากการทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 62 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินท่าทางการทำงานทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว ด้วยวิธี REBA (Rapid Entire Body Assessment) และแบบสอบถามความรู้สึกเมื่อยล้าของร่างกาย (Body discomfort assessment)
ผลการวิจัย พบว่า ความเสี่ยงท่าทางการทำงานของพนักงานเก็บขยะ ขั้นตอนการเทขยะใส่ท้ายรถขยะอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง ควรรีบปรับปรุง ร้อยละ 69.4 ขั้นตอนการยกถังขยะอยู่ในระดับปานกลาง ควรได้รับการปรับปรุง ร้อยละ 51.6 และขั้นตอนการเข็นถังขยะอยู่ในระดับปานกลาง
ควรได้รับการปรับปรุง ร้อยละ 45.2 ผลการประเมินความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ พบว่า ระดับความรู้สึกเมื่อยล้ามากเกินทนไหว พบมากสุดคือ หลังส่วนล่างขวา หลังส่วนล่างซ้าย ปัจจัยทั่วไป ได้แก่ การออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน และระยะเวลาในการทำงาน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น จึงควรปรับลักษณะการทำงานให้เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะต่อไป
References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ส.ค. 8]. เข้าถึงได้จาก: http://infofile.pcd.go.th/Waste/Wst2018.pdf
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 (นครปฐม). รายงานผลการติดตามและประเมินประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนในแม่น้ำลุ่มน้ำท่าจีน. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ส.ค. 16]. เข้าถึงได้จาก: http://waste.onep.go.th/images/file/1500608105.pdf
ณัฐพล พิมพ์พรมมา. ปัจจัยคุกคามสุขภาพและภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2564; 20(3): 84-97.
สลิลรัตน์ นิตรมร, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุสร ทิพยมงคลกุล, ธนาศรี สีหะบุตร. ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บและคัดแยกขยะสังกัดเทศบาลจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(2): 232-41.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, พีรพงษ์ จันทราเทพ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2555; 24(1): 97-109.
วิราภรณ์ ทองยัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.
สาลี อินทร์เจริญ, กมลรัตน์ นุ่นคง, สุภาวรรณ ทองเจิม, วิลาวรรณ ศรีพล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้ออันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพครั้งที่ 1; วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560; ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย: มหาวิทยาลัย; 2560. หน้า 1-10.
Hignett S, McAtamney L. Rapid Entire Body Assessment (REBA). Applied Ergonomics 2000; 31: 201-5.
Corlett EN, Bishop RP. A technique for assessing postural discomfort. Ergonomics. 1976; 19(2): 175-82.
พีรพงษ์ จันทราเทพ, สนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554; 4(2): 49-58.
ยุพา ดาวเรือง, ฉันทนา จันทวงศ์, นิสากร กรุงไกรเพชร. ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกในพนักงานเก็บขนมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร. ใน: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่2; วันที่ 24 พฤษภาคม 2557; ณ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย; 2557. หน้า 322-32.
สุทรรศน์ สิทธิศักดิ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น