การเตรียมผู้ป่วยระยะก่อนผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ จันทร์เพ็ง นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กล้าเผชิญ โชคบำรุง รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเตรียมก่อนผ่าตัด, พยาบาลห้องผ่าตัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเตรียมก่อนผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัดและสังเคราะห์ เพื่อเสนอรูปแบบการเตรียมก่อนผ่าตัด ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ 50 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการประชุมระดมสมอง ระหว่างเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา ดังนี้

1.สถานการณ์การเตรียมก่อนผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัด พบว่า มีผู้ป่วยไม่ได้รับการเตรียมก่อนผ่าตัด ร้อยละ 8.34

2.รูปแบบการเตรียมก่อนผ่าตัด พบว่า 1) มีขั้นตอนการเตรียมก่อนผ่าตัด 2) มีการใช้เครื่องมือในการเตรียมการผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัด คือ แบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อน-หลังการผ่าตัด และ ใบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด 3) มีปัญหา/อุปสรรคในการเตรียมการผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัด ได้แก่ ด้านระบบ ด้านบุคลากร ด้านเครื่องมือในการเตรียมก่อนผ่าตัด ด้านการจัดการข้อมูลผู้ป่วย

3.ข้อเสนอรูปแบบการเตรียมก่อนผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัด ได้แก่ 1) การทบทวนแนวปฏิบัติทางคลินิกการเตรียมก่อนผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัด 2) การจัดทำแบบบันทึกการเตรียมก่อนผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัดใหม่ 3) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการเตรียมก่อนผ่าตัด และ 4) การปรับการจัดการเตรียมก่อนผ่าตัดโดยพยาบาลห้องผ่าตัดให้เหมาะสม

References

Heizer, J. H.. Strategic Operations Management. 4th Edition. London: Routledge; 2018.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2) พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

Miles, M. B., & Huberman, A. M.. Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 1994.

สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.

Selwyn, D. Impact of perioperative care on healthcare resource use: Rapid research review.

ม.ป.พ.; UK:2020.

โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. (ม.ป.ป.). การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.bth.co.th/th/news-health-th/242-health-news-surgery-center-th/888-repaired.html

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ. การพัฒนาแบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539; 41(1):18-30.

Johnstone, J. How to provide preoperative care t patients. Nursing Standard 2020; 36(11): 72-76. Available from: https://journals.rcni.com/nursing-standard/how-to-series/how-to-provide-preoperative-care-to-patients-ns.2020.e11657/abs : doi: 10.7748/ns.2020.e11657.

Pritchard, M.J.. Pre-operative assessment of elective surgical patients. Nursing Standard 2012; 26(30): 51-56. Available from: https://journals.rcni.com/doi/abs/10.7748/ns2012.03.26.30.51.c9003 : doi: 10.7748/ns2012.03.26.30.51.c9003.

Walsgrove, H. Putting education into practice for pre-operative patient assessment 2006; 20(47): 35-39. Available from: https://journals.rcni.com/doi/abs/10.7748/ns2006.08.20.47.35.c4476: doi: 10.7748/ns2006.08.20.47.35.c4476.

Watters D.A., Guest G.D., Tangi V., Shrime M.G., Meara J.G. Global surgery system strengthening: it is all about the right metrics. Anesth Analg 2018:126;1329-39.

ศยามล ภูเขม่า และ วรรณชนก จันทชุม. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 3(1): 51-60

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. กฎหมายและข้อควรระวังของแพทย์พยาบาล. กรุงเทพฯ:วิญญูชน;2558

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13