การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • บุศรินทร์ เขียนแม้น โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • เยาวเรศ ก้านมะลิ
  • วรรณวิมล ทุมมี

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, รูปแบบการพยาบาล

บทคัดย่อ

การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุสำคัญของการคลอดก่อนกำหนด ประเทศไทยพบอุบัติการณ์คลอดก่อนกำหนดร้อยละ 8-12 หรือประมาณ 80,000 รายต่อปี การคลอดก่อนกำหนดเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ทุพพลภาพ และตายถึงร้อยละ 75 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา นำรูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไปใช้ และศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 80 คน ใช้แบบแผนวิจัยกึ่งทดลอง รูปแบบ Static group comparison design นำกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 40 ราย โดยวิธีจับสลาก วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Independent t-test 

ผลการศึกษา : หญิงตั้งครรภ์คลอดครบกำหนดร้อยละ75 เข้ารับการรักษาซ้ำร้อยละ37.50 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อรูปแบบการพยาบาลมากกว่า 3.5 หรืออยู่ในระดับมากขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 69.09, p < .001) ความสามารถในการดูแลตนเองในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.001

รูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวการณ์เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ช่วยลดการคลอดก่อนกำหนด ลดการเข้ารับการรักษาซ้ำ เพิ่มความพึงพอใจ และความสามารถในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์

References

สถิติ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการตายของทารกแรกเกิด. 2565; สืบค้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565. http://kmops.moph.g.th/index.php/km-test.

วรพงศ์ ภู่พงศ์. การเจ็บครรภ์คลอดและการคลอดก่อนกำหนด. 2560; กรุงเทพมหานคร : ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.

Cunningham,F.G.Williams Obstetrics.24 thed. 2015; New York: McGraw-Hill Education Medical.

จรินทร์ทิพย์ สมประสิทธิ์. ภาวะแทรกซ้อนทางซ้อนทางสูติศาสตร์. 2560; สมุทรสาคร : พิมพ์ดี.

ปิยะพร กองเงิน. การพยาบาลสูติศาสตร์สตรีที่มีภาวะแทรกแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์. 2558; กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานประจำปีข้อมูลการตายของทารก. 2564; กาฬสินธุ์ :สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.

กลุ่มงานการพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. งานข้อมูลและสารสนเทศ. 2564; โรงพยาบาลกาฬสินธุ์.

Donabedian, A. Explorations in Quality Assessment and Monitoring: Vol. I. The Definition of Quality and Approaches to Its Assessment. 1980; Ann Arbor, MI: Health Administration Press.

Krejcie & Morgan. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. 1970; อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2543; อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

อรพินทร์ ชูชม. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2552; กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Koul, Lokesh. Methodology of Educational Research. 1984. New Delhi: Vikas Publishing House Pvt. Ltd.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. 2548; พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สามลดา.

จุฑารัตน์ บันดาลสิน. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมการบริการพยาบาล.Develop the Creativity Toward the Nursing Service Innovation. 2557; วารสารพยาบาลทหารบก (Journal of The Royal Thai Army Nurses), 15 (3), 9-17.

พรรณี บัญชรหัตถกิจ. นวัตกรรมและเทคโนโลยีในงานสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ. 2555; มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ขอนแก่น.

National Health and Medical Research Council (NHMRC). A guideline to the development implementation and evaluation of clinical practice guidelines. 1998; Australia.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล: ที่ปฏิบัติการในโรงพยาบาล. 2544; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร.

The Case Management Society of America: CMSA. 2003; The Standards of Practice for Case Management, revised.

จิตร สิทธิอมร, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, สงวนสิน รัตนเลิศ และเกยีรติศักดิ์ ราชบริรักษ์. Clinical practice guidelines : การจัดทำและนำไปใช้. 2558; กรุงเทพฯ : ดีไซด์.

Rosenstock, I.M., Strecher, V.J. and Becker, M.H. Social Learning Theory and the Health Belief Model. 1998; Health Education Quarterly, 15, 175-183.

อุทัยวรรณ เหมเวช. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการรับรู้ประโยชน์ของการรักษากับความร่วมมือในการรักษาของหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. 2552; โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. นวัตกรรมบริการพยาบาล. 2554; วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 22(2), 71-79.

Kemmis, S., & McTaggart, R. Integration of Inquiry-Based Learning and Ongoing Assessment to Develop English Essay Writing in Upper Intermediate Level. 1992; Geelong: Deakin University Press. Open Journal of Modern Linguistics, Vol.7 No.2, April 20, 2017.

นงลักษณ์ สุวิสิษฐ์. การพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการพยาบาล. 2554; สืบค้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9127.

สมจิต หนุเจริญกุล. การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง : บูรณาการสู่การปฏิบัติ. 2555; พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง), สภาการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข : นนทบุรี.

ชลทิชา รักษาธรรม. แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่อง. 2561; วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 348–356.

กวินฑรา ปรีสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลบางนา 5 จังหวัดสมุทรปราการ. 2558; วารสารพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/view/72650.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-18