รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศิราณี ศรีหาภาค วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ธารา รัตนอำนวยศิริ โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • นวลละออง ทองโคตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ, การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากผู้สูงอายุ จำนวน 770 คน และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 264 คน ระยะเวลาเดือน เมษายน 2560–มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ประเด็น และแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Mc NeMar Test

ผลการศึกษา พบว่า 1) ข้อจำกัดการเตรียมความพร้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลต่อการเข้าถึงระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน 2) กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวสู่นโยบายสาธารณะ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยการพัฒนาประเด็นนโยบาย การตัดสินใจ ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 3) การขับเคลื่อนกองทุนระบบการดูแลระยะยาวสู่การปฏิบัติและทำให้การบริการจัดการกองทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถเข้าถึงบริการระบบการดูแลระยะยาวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)

การขับเคลื่อนนโยบายกองทุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวสู่การเป็นนโยบายสาธารณะจะทำให้เกิดการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างยั่งยืนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของประเทศไทยในอนาคต

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2565.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรผู้สูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์: กรุงเทพฯ . 2557.

วิชัย เอกพลากร และคณะ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2557.

Sihapark, Kuhirunyaratn and Chen. Severe Disability Among Elderly Community Dwellers in Rural Thailand: Prevalence and Associated Factors. Ageing International. 2014; 39(3): 210-220. DOI 10.1007/s12126-013-9190-7.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแหล่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2559.

ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2557.

Rifkin, S.B., Muller, F., and Bichmann, W. Primary Health Care: On measuring participation. Soc. Sci. Med, 1988; 26(9): 931-940.

Bjaras, G., Haglund, B.J.A., & Rifkin, S.B. A new approach community participation assessment. Health promotion international, 1991; 6(3): 199-206.

Collin, C., Wade, D. T., Davies, S., and Horne, V. The Barthel ADL index: a reliability study. Disability and Rehabilitation, 1988; 10(2): 61–63. doi:10.3109/09638288809164103.

Jintapunkul, S., et al. The meaning of activities of daily living in a Thai elderly population: development of a new index. Age and Ageing, 1994; 23(2): 97-101.

Challis, D., et al. Dependency in older people recently admitted to care homes. Age and Ageing, 2000; 29(3): 255-260.

Jintapunkul, S, et al. Disability-free life expectancy of elderly people in a population undergoing demographic and epidemiologic transition. Age and Ageing, 2003; 32(4): 401-405.

รุ่งเรือง แสนโกษา, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสมเจตน์ ภูศรี, 2557. รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเครือข่ายเขตบริการสุขภาพที่ 7 กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2557; 8 (2): 200-216.

Scott, V. C. et al. The Readiness for Integrated Care Questionnaire (RICQ): An instrument to assess readiness to integrate behavioral health and primary care. American Journal of Orthopsychiatry, 2017; 87(5): 520–530.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รวมมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1-ครั้งที่ 7 .สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.): นนทบุรี. 2558.

ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ. สมัชชาสุขภาพ: หนึ่งทศวรรษการสร้างการมีส่วนร่วมด้านสุขภาพในสังคมไทย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2559; 19 (3): 230-235.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-20