ผลการประเมินกระบวนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ผลการประเมิน, การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินกระบวนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2564 ถึง กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลแกนนำที่มีภาระงานสอดคล้องกับโครงการ จำนวน 90 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) อำเภอผ่านเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพ ร้อยละ 100 2) ปัจจัยนำเข้า ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ครอบคลุมทั้ง 18 อำเภอ และกำหนดบทบาทการพัฒนาระบบบริการ 3) กระบวนการ มีคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพ, กำหนดเป้าหมายร่วมกัน, วิเคราะห์สภาพปัญหา, จัดทำแผนแก้ไขปัญหาสำคัญ, ค้นหาแนวทางป้องกัน, พัฒนาศักยภาพบุคลากร, ติดตามประเมินผล, สรุปผลงาน และกำกับติดตามประเมินผล 4) ผลลัพธ์ ประชาชนกลุ่มเปราะบางที่มุ่งเน้นสำคัญได้รับการดูแลมากที่สุดได้แก่ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 ร้อยละ 96.78 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุผู้พิการ และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ร้อยละ 1.53, 1.13 และ 0.56 ตามลำดับ ปัจจัยความสำเร็จ คือ การบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างมีคุณค่า และพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ ควรมีกระบวนการถอดบทเรียน ส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบการบูรณาการ และพัฒนาให้ประชาชนมีความรอบรู้ในการจัดการสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน
References
ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ. รายงานกรณีศึกษา การปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
คณะทำงานขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านระบบบริการ. แนวทางการดำเนินงาน Primary Care Cluster สำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
Stufflebeam, Daniel L. Educational Evaluation and decision Making. Iilinois : F. E. Peacock Publishing; 1971.
กาญจนา วัธนสุนทร. การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของสตัฟเฟิลบีมในการประเมินโครงการทางการศึกษา. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, บำรุง ชลอเดช, พฤกษา บุกบุญ. สถานการณ์การพัฒนา ระบบบริการปฐมภูมิ พ.ศ.2547-2558. นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ชุมชน (มสพช.); 2558.
โสภณ เมฆธน. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
ส่วนประเมินผล สนผ. การประเมินผลโครงการแบบซิปโมเดล (CIPP Model). [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://hq.prd.go.th.
สมยศ ศรีจารนัย และคณะ. วิจัยประเมินผลการดำเนินงาน ตามนโยบายทีมหมอครอบครัว. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2561.
ศรีสอางค์ วรรณกูล ถาวรล่อกา. รูปแบบเชิงหุ้นส่วนในการจัดบริการสุขภาพคลินิกหมอครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ. จังหวัดลำปาง; 2543.
สมพร เจือจันทึก. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชอ.) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดบริการสุขภาพแบบบูรณาการ จังหวัดหนองคาย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษาปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563.
อดุลย์ บํารุง. ข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต(พชอ.). วารสารสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปีที่ 1ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562.
เกษมสุข กันชัยภูมิ. การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษาปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2565.
ธงชัย ปัญญูรัตน์. ผลของรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565.
ยงยุทธ พงษ์สุภาพ การจัดการเรียน เพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการ ระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System Management Learning: DHML) เลขมาตรฐานประจำ หนังสือ : ISBN: 978-616-7859-12-5 พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2557 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พิมพ์ที่ : APPA Printing Group CO.,LTD. 42/79 หมู่ 5 อาคารอดิศร ซ.ศิริชัย ถ.พุทธมณฑล
สาย 5 ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 74130 Tel: 0-2813-4741-43 Fax: 0-2813-5855 Office Tel: 0-2954-2774 Fax: 0-2953-9391
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น