องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การจัดการสิ่งปฏิกูล, องค์ประกอบ, ตัวบ่งชี้, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและหาตัวบ่งชี้การพัฒนาระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ใช้สถิติเชิงพรรณนาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC
ผลวิจัย พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ และ 50 ตัวบ่งชี้คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านนโยบายการจัดการสิ่งปฏิกูล มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านการจัดทำแผนและงบประมาณมี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านสถานที่การก่อสร้างบ่อปฏิกูล มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 ด้านผู้นำชุมชน
มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 ด้านความพร้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชน มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 7 ด้านแบบแปลนในการก่อสร้าง มี 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 8 ด้านบริหารจัดการมี 9 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 9 ด้านข้อกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น มี 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 10 ด้านวิชาการและจัดการความรู้ มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 11 ด้านการสร้างเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนภายในและภายนอก มี 3 ตัวบ่งชี้
ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นเกณฑ์คุณภาพการพัฒนาและจัดการสิ่งปฏิกูลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
References
กรมอนามัย. แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา ; 2552.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสุขภาพคนไทยในระดับพื้นที่. https://www.hiso.or.th. 15 สิงหาคม 2565.
อัจฉราพร โนนแสง, ฤทธิรงค์ จังโกฏิ. การจัดการสิ่งปฏิกูลและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ ตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วาทินี จันทร์เจริญ, ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี. การศึกษาการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวพยาธิจากตะกอนสิ่งปฏิกูลที่รถดูดส้วมนำไปทิ้งในที่สาธารณะหรือเอกชนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2561. ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย . ผลการสำรวจความพร้อมการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ; 2565.
ชัชวาล เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น ; 2539 : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ไฉไล ช่างดำ, บุญเกิด เชื้อธรรม, สุกัญญา เชื้อธรรม. รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ; 2564. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2564).
ไฉไล ช่างดํา และคณะ. สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในพื้นที่สาธารณสุขเขต 11 และ เขต 14. กลุ่มพัฒนาวิชาการส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 7 ; 2548.
วีระศักดิ์ สืบเสาะ. การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย ปี 2551. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาภรณ์ หลักรอด, เมธี ชุ่มศิริ และธิดารัตน์ ดํารงค์สอน. สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในเขตภาคกลางตะวันตก. ราชบุรี : ศูนย์ อนามัยที่ 4 ; 2549.
สมรัฐ นัยรัมย์. การจัดการสิ่งปฏิกูลในเขตเทศบาล พื้นที่เขตสุขภาพที่ 9. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 12 ฉบับที่ 29 กันยายน–ธันวาคม 2561.
นิพนธ์ เสียงเพราะ. การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในเขตสุขภาพที่ 2. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก : ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2561.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การจัดการสิ่งปฏิกูล (แบบครบวงจร) กรุงเทพฯ ; โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ; 2558.
จำเนียร มูลเทพ. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลตำบลบ้านค้อ อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม 2552 ; 11 (4) ; 14-20.
ธัชพล ทีดี (2561) รูปแบบการบริหารจัดการเมืองสะอาดอย่างยั่งยืน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. Septemper-October 2018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น