การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กรณีกักตัวที่บ้าน โรงพยาบาลกมลาไสย

ผู้แต่ง

  • ธีระพันธ์ โต้หนองแปน โรงพยาบาลกมลาไสย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ผู้ป่วยโควิด-19, กักตัวที่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ศึกษาปัญหา การพัฒนารูปแบบ และประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กรณีกักตัวที่บ้าน แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาปัญหา 2) วางแผนพัฒนาแก้ไขปัญหา 3) นำการแก้ไขสู่การปฏิบัติ 4) ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย 1) กลุ่มผู้ป่วย คือ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบทบทวนเวชระเบียน แบบวัดภาวะซึมเศร้า แบบวัดความพึงพอใจ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แบบสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา  

ผลการวิจัย 1) ทบทวนเวชระเบียน เพศหญิง ร้อยละ 54.76 อายุ 11-20 ปี มากที่สุด ไข้ ร้อยละ 41.81 ภาวะซึมเศร้า ระดับน้อย ร้อยละ 96.76 ผู้ปฏิบัติงาน ขาดทักษะและความชำนาญงาน 2) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย ประสานเครือข่าย จัดรูปแบบการดูแล เตรียมทีมบุคลากร เอกสารประเมินผู้ป่วย ส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์และยา 3) ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.25, S.D = 0.91) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.77,S.D = 0.61) ความพึงพอใจของสหวิชาชีพ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.61, S.D = 0.84)

ข้อเสนอแนะ : จัดอัตรากำลังหน่วยงานอื่นมาช่วยการดูแล ควรทบทวนหน้าที่ให้ชัดเจน สถานที่คัดกรองเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เน้นย้ำ การคัดกรอง เว้นระยะห่างทางสังคม

References

กรมการแพทย์.กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข .แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อ 2565;1-16.

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยผู้ป่วยโควิด-19.โปรแกรม ddc.moph.go.th/covid19- dashboard/2565; 31 มีค. 2565.

โรงพยาบาลกมลาไสย. รายงานข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19.โปรแกรมHos-xpโรงพยาบาลกมลาไสย 2565; 31 มีค. 2565.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.

ธัญพร จรุงจิตร ประสิทธิผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบ Home Isolationโรงพยาบาลวังเจ้า.วราสารสธารณสุขจังหวัดตาก 2565; 2(2) :11-12.

อรรจน์กร มเกียรติสกุล. ผลของรูปแบบการดำเนินงานสถานที่กักกันตัวที่บ้านแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2565;36(1):79-97.

วีรนุช ไตรรัตโนภาส ฐิติมา หมอทรัพย์และคณะ. แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2564;27(4):132-144.

ฐิรพร อัศววิศรุต เยาวลักษณ์ เมณฑกานุวงษ์และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบริหารทางการพยาบาล ต่อสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดยโสธร. ยโสธรเวชสาร 2565;24 (1):35-44.

The Australian Immunizations Handbook, 6th Edition. National Health and Medical Research Council 1997;127-131.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการปฏิบัติงาน ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจทุกระดับ ผู้ประสบภาวะวิกฤตในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) กรุงเทพ. 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-19