ผลของการพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภ

ผู้แต่ง

  • อารมณ์ ร่มเย็น -

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและปัจจัยทำนายต่อคุณภาพชีวิต โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากร จำนวน 79 คน เครือข่ายท้องถิ่น จำนวน 270 คน ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ multiple linear regression 

ผลการศึกษา พบว่า ผลการพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ได้แก่ 1) มีระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2) มีการจัดการเชิงรุก 3) การประชาสัมพันธ์ 4) พัฒนาระบบบริการ 5) มีแผนลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อ 6) การปรับสภาพแวดล้อม 7) จัดกิจกรรมกลุ่ม กลไกความร่วมมือของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอโดยรวมมีระดับสูง (3.59±2.85) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายระดับสูง (4.25±0.43) มีความเครียดโดยรวมเล็กน้อย ร้อยละ 98.1 (2.20±1.47) โดยรวมไม่มีภาวะซึมเศร้า (2.59±2.12) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยรวมมีระดับดี (49.35±4.31) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถทำนายคุณภาพชีวิตร้อยละ 40.8 (adj.R2= 0.408, p<0.001) ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า (adj.R2=0.324) และความเครียด (adj.R2=0.166) ดังสมการ ý = Constant 1.950+ 0.408X1 + 0.166X2

References

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

นันทกร ทองแตง. รายการพบหมอศิริราช เรื่อง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. ทะเบียนข้อมูลจาก HDC ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร; 2565.

อัจฉรา คำมะทิตย์. หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564; 8(2): 315-328.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2557.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, หทัยชนก เกตุจุนา, ขนิษฐา ศรีสวัสดิ์ และคณะ. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus & Online. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119/ตอน 116 วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง). ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

กีระติ เวียงนาค. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563; 1(1): 49-55.

วนิดา สาดตระกูลวัฒนา. การพัฒนารูปแบบการจัดบริการคลินิกโรคเรื้อรัง (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8(1): 24-36.

สมาน คงสมบูรณ์, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข2564; 30(1): 115-128.

World Health Organization. Global Status Report on noncommunicable diseases. Geneva 2013-2014. Geneva. WHO 2015. [Cited October 25, 2022] online from: http://www.who.int

ภรณ์ทิพย์ ชัยสว่าง, ปาริชาติ อ้นองอาจ, สกุณตลา เพ็งแจ่ม, เนติพงษ์ เวฬุวนารักษ์, ศรันย์ อินทกุล. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์. การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 7 วิทยาลัยนครราชสีมา. NMCCON 2563: 1080-1087.

ชาญศักดิ์ วิชิต. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคอีสาน 2564; 36(1): 24-36.

Tolonen H, Reinikainen J, Zhou Z, Härkänen T, Männistö S, Jousilahti P. Development of non-communicable disease risk factors in Finland: projections up to 2040. Scandinavian Journal of Public Health. SAGE 2022: 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-18