สถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การสุขาภิบาลอาหาร, โคลิฟอร์มแบคทีเรีย, โรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 32 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ (1) แบบสำรวจมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน (2) ชุดทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) และ (3) ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำ น้ำแข็ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า การสุขาภิบาลโรงอาหารของทั้ง 3 โรงเรียน ไม่ผ่านมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารต้องปรับปรุงใน (หมวดที่ 3) ด้านอาหาร น้ำ น้ำแข็ง เครื่องดื่ม, (หมวดที่ 4) ภาชนะอุปกรณ์, (หมวดที่ 5) การรวบรวมขยะและน้ำโสโครก, และ (หมวดที่ 7) ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟ และผลการตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร น้ำบริโภค น้ำอุปโภค ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร พบว่า มีตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อทั้งหมด ร้อยละ 56.25 โดยพบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในตัวอย่างน้ำบริโภค
น้ำอุปโภค มากที่สุด ร้อยละ 66.67 รองลงมา คือ ภาชนะอุปกรณ์ ร้อยละ 60.00 อาหารสด ร้อยละ 50.00 และมือผู้สัมผัสอาหาร ร้อยละ 40.00 ตามลำดับ
ดังนั้น ทางโรงเรียนควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารของโรงอาหาร การตรวจสอบคุณภาพอาหารด้านจุลินทรีย์ และสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร เพื่อปรับปรุงโรงอาหารและคุณภาพของอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาล
References
ธารหทัย มาลาเวช. คู่มือมาตรฐานและกลวิธีในการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์. 2553.
อำพร ท่าดะ, ชุรียาณี อาบูวะ, และดารีนา อาบูวะ. ภาวะสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 2. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 2561; 3(1): 1–7.
สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังโรคอุจาระร่วง ปี 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttp://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=02
สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษ ปี 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=03
จิตรดา มาตยาคุณ. มาตรฐานโรงอาหารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี. วารสารกฎหมายสุขภาพและนโยบายสาธารณสุข 2559; 2(3): 299–312.
จิราภรณ์ หลาบดำ, จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา, และวิษณีย์ แก่นคง. การสุขาภิบาลอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2560; 19(3): 108–118.
Pascual, P. A., Abenis, N. F. Assessment of the sanitary conditions and food handlers’ practices of public and private high school canteens in Eastern Visayas, Philippines. The Countryside Development Research Journal 2016; 4(1): 1–9.
จริยา อินทรรัศมี, สุภาภรณ์ ลมูลศิลป์ และ วาสนา คณะวาปี. คุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัด พื้นที่รับผิดชอบศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(ฉบับเพิ่มเติม 2): S208–S217.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำสำหรับสาธารณสุขอำเภอ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2557.
ศศินา บุตรนคร และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. สถานการณ์สุขาภิบาลอาหาร และน้ำบริโภคในโรงเรียนพื้นที่ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(2): 68–79.
รพีพรรณ ยงยอด และรัตนี คำมูลคร. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในเขตพื้นที่การประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 13(1): 56–68.
สมเจตน์ ทองดำ, จิราภรณ์ หลาบคำ และลักษณีย์ บุญขาว. การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2558; 17(1): 36–49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น