การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ราศรี อาษาจิตร โรงพยาบาลป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ผู้ติดสารเสพติด, การบำบัดรักษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

ผู้ติดสารเสพติดในชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ผู้สมัครใจ และยินดีเข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมชน ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พระสงฆ์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ปกครอง ผู้ติดสารเสพติดและครอบครัว รวมทั้งหมด 109 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม สังเกต และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมีการดำเนินการสร้างรูปแบบการดำเนินงาน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ พัฒนาศักยภาพเครือข่าย อบรมให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง คัดกรอง บำบัด ฟื้นฟูและการเยี่ยมติดตามผู้ติดยาเสพติด
มีการนิเทศ ประเมินผล และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 2.6 (S.D = 0.19) 3) ผู้ติดสารเสพติดหยุดใช้สารเสพติดได้ร้อยละ 83.33 เมื่อติดตามครบ 12 เดือน

ดังนั้น ควรมีการพัฒนาศักยภาพของชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดให้สามารถหยุดใช้ยาได้อย่างถาวร

References

United Nations Office on Drugs and Crime [UNODC]. World drug report 2015. Geneva: UNODC; 2015.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2019). 29.5 million people globally suffer from drug use disorders, opioids the most harmful. [Internet]. [cited 2023 May 30]; Available From: https://www.unodc.org/unodc/en/data-and-analysis/wdr2021.htm

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (2566). ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://antidrugnew.moph.go.th/Identity/STS/Forms/Account/

สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.สถานการณ์ยาเสพติด ประกอบการจัดทำแผน ปี2561 [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://www.nccd.go.th/upload/news/62.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร (2564). รายงานผลการดำเนินงานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดจังหวัดยโสธร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร.

โรงพยาบาลป่าติ้ว (2564). รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาลป่าติ้ว: โรงพยาบาลป่าติ้วจังหวัดยโสธร.

World Health Organization. การบําบัดรักษาโดยมีส่วนร่วมของชุมชนสําหรับผู้ใช้ยาเสพติดและติดยาเสพติด [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2563 ]; เข้าถึงได้จาก: https://www.unodc.org/documents/southeastasiaandpacific/cbtx/cbtx-brief-TH.pdf

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.).Victoria : Deakin University.

กระทรวงสาธารณสุข. แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับการบาบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข (บคก.กสธ.) V.2 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/161109147870

นิตยา ฤทธิ์ศรี, สุกัญญา วัฒนประไพจิตร และศุภลักษณ์ จันหาญ. รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชุมเป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2565;19(2): 50-63.

Gibson, C. H. A Concept Analysis of Empowerment. Journal of Advanced Nursing [Internet]. 1991; 16: 354-361. Available from: https://www.scirp.org/(S(vtj3fa45qm1ean45vvffcz55))/

นิภาวรรณ ตติยนันทพร. การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและบําบัดยาเสพติด อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Rasia/Download/RHPC9J_2565_16_2_Article17_Nipawun

วงศพัทธ์ บุญมาก. ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดค่ายขวัญแผ่นดิน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2561; 14(2): 50-63.

นุรินยา แหละหมัด และคณะ. การมีส่วนร่วมของ ครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดขณะบำบัดรักษาในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดสงขลา. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.sdtn.in.th/paper/24

อาภรณ์ ประชุมวรรณ และสภาพร ยมหงส์. การพัฒนารูปแบบชุมชนร้อยเอ็ดปลอดบุหรี่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560; 10(3): 464-475.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-01