การพัฒนารูปแบบการคัดกรองจุดแรกรับผู้ป่วย COVID-19 ของโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อจัดการความรุนแรงของโรคภายในจังหวัดมหาสารคามและเครือข่าย

ผู้แต่ง

  • จิราพร พิลัยกุล โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การคัดกรองจุดแรกรับผู้ป่วย COVID-19, จัดการความรุนแรงของโรค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองจุดแรกรับผู้ป่วย COVID-19 และเพื่อจัดการความรุนแรงของโรคภายในจังหวัดมหาสารคามและเครือข่าย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา 1) กลุ่มผู้พัฒนารูปแบบ จำนวน 40 คน 2) กลุ่มเป้าหมายในการทดลองปฏิบัติการ จำนวน 768 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการทบทวนเวชระเบียน แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบบันทึกการคัดแยกผู้ป่วย COVID-19 แบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

1.ผู้ป่วย COVID-19 ในจังหวัดมหาสารคาม มีจำนวน 39,997 คน เสียชีวิต 180 คน อำเภอเมืองมีผู้ป่วยมากที่สุด ร้อยละ 18.45 คน โดยมีอายุระหว่าง 45-60 ปี ร้อยละ 23.72 ปัญหาที่พบ คือ มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น มีจำนวนเจ้าหน้าที่คัดกรองไม่เพียงพอ และขาดแคลนอุปกรณ์

2.การพัฒนารูปแบบ ดำเนินการ 2 วงรอบ คือ ด้านนโยบาย ด้านอัตรากำลังคน ด้านการจัดระบบบริการสุขภาพ ด้านระบบข้อมูลสารสนเทศทางสุขภาพ ด้านการเข้าถึงยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้านงบประมาณ ด้านภาคีเครือข่าย

3.ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า มีระบบคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ มีการประสานงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม สามารถจัดสถานที่รองรับผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ มีช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยวิกฤต และลดการสัมผัสการแพร่กระจายเชื้อได้ จากกระบวนการที่พัฒนา 2 วงรอบ
ได้รูปแบบ JIRAPORN Model ในการขับเคลื่อนการคัดกรองจุดแรกรับผู้ป่วย COVID-19

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19).

กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. coronavirus disease 2019 (COVID-19). [Internet].[Cited 2021 November 1]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน), พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ, และกัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์. สังคมเมืองในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2563; ปีที่ 8 ฉบับที่ 1: 263-276.

พัทสิมา ภัทรธีรานนท์, นิภาวรรณ ศรีโยหะ, พัชรกรพจน์ ศรีประสาร, และรุ่งทิวา เสาวนีย์. บทบาทของพยาบาลชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใน 8 ชุมชน พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลรามาธิบดี.วารสารสุขศึกษา 2564; ปีที่ 44 ฉบับที่ 1: 1-11.

บัญชา เกิดมณี และคณะ. แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลก วิทยาศาสตร์ 2563; ปีที่ 20 ฉบับที่1: 1-12.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดมหาสารคาม. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก http://mkho.moph.go.th

รวิพร โรจนอาชา กิตติพร เนาว์สุวรรณ และนภชา สิงห์วีรธรรม. การดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ Hospitel ในบริบทชายแดนไทย-มาเลเซีย ภายใต้การบริหารจัดการของแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาชราชนครินทร์ 2565; ปีที่14 ฉบับที่1: 134-156.

วราภรณ์ สมดี. การพัฒนาแนวทางการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2564; ปีที่ 19 ฉบับที่ 10: 68-79.

สุธารัตน์ แลพวง. การบริหารจัดการภายใต้มาตรการคัดกรองเพื่อรับมือสถานการณ์โรคโควิด COVID-19 ของโรงพยาบาลปทุมธานี[อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก http://www3.ru.ac.th.

ฐิรพร อัศววิศรุต เยาวลักษณ์ เมณฑกานุวงษ์ กลอยใจ แสนวงษ์ และนิภาพร ละครวงศ์.

การพัฒนา รูปแบบการบริหารทางการพยาบาลต่อสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดยโสธร. ยโสธรเวชสาร 2565; ปีที่ 24 ฉบับที่ 1: 35-44.

สาคร อินโท่โล.การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อแพร่ระบาดของโรคโควิด 19: บทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. วารสารสภาการพยาบาล 2564; ปีที่ 36 ฉบับที่ 3: 5-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28