ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบ้านนา จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • สุดาพร ราชาวงศ์ โรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก
  • จารุณี จันทร์เปล่ง คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา จังหวัดนครนายก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้สูงอายุ, ชมรมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบ้านนา จังหวัดนครนายก และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 คน ระยะเวลา พฤศจิกายน 2564–กุมภาพันธ์ 2565 เก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 44 2) ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ r = 0.166, p-value = 0.028 ส่วนการรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์ p-value = 0.060 3) ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ r = 0.244 p-value = 0.001 , r = 0.180 p-value = 0.017 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ทางหน่วยงานต่างๆ ควรจัดทำสื่อ พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์

References

ปณิตา ลิมปะวัฒนะ. กลุ่มอาการสูงอายุและประเด็นทางสุขภาพที่น่าสนใจ. พิมพ์ครั้งที่ ๑ หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา ขอนแก่น; 2560.

กรมอนามัย. รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:www.moph.go.th. [3 พฤศจิกายน 2564].

กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลบ้านนา. ข้อมูลชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านนา; 2565.

สุพรรณี พฤกษา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย; 2559.

นิธินันท์ เจริญบัณฑิตย์ . ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

พงศธร ศิลาเงิน .ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุใน จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

กฤษดา พรหมสุวรรณ์ . ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรม ผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์; 2560.

พงศ์เทพ จิระโร. เอกสารประกอบการสอนวิชาวิจัยทางสุขภาพ. สำนักวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา; 2564.

จิราภา ทรงสถาพรเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเข้าร้านกาแฟสำหรับคนรักสุนัข (Dog Café) เทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

วรรณวิมล เมฆวิมล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2555.

วาสนา สิทธิกัน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2560.

ฐปรัตน์ รักษ์ภาณุสิทธิ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2561; 3: 170-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-12