บทบาทในการพัฒนาชุมชน และความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุ ตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • โสภณ เบื้องบน คณะวิทยาศาสตร์ สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุวิมล ดอบุตร อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาการจัดการสุขภาพ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
  • ธีรนาถ สุวรรณเรือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การพัฒนาชุมชน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทในการพัฒนาชุมชนของผู้สูงอายุ ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบบทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน ตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 260 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน 2565 เก็บตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติ t-test (Independent Sample)  และ F-test (One-way ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

จากการศึกษาบทบาทในการพัฒนาชุมชนของผู้สูงอายุ ตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน เป็นเพศหญิง จำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ 63.08 ผลการวิเคราะห์บทบาทในการพัฒนาชุมชนรายด้านโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (S.D. = 0.39) ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุรายด้านโดยรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.55 ± 0.34 (S.D. = 0.34) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ และบทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

จากผลการศึกษาจึงควรมีการส่งเสริมสวัสดิการของรัฐให้แก่ผู้สูงอายุในทุกๆ ด้าน เช่น การสนับสนุนให้มีการพัฒนาอาชีพให้กับผู้สูงอายุ รวมถึงการให้ความรู้ด้านสุขภาพกับผู้สูงอายุ และควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. ปี 2564. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับประชากรสูงอายุ. ปี 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2564].เข้าถึงได้จาก:https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=social

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. ปี 2538. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระสุดรักษ์ วิสุทฺโธ. บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชนในตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปี 2561. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561).

ศศิวิมล กองทรัพย์เจริญ. ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. ปี 2563. สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พลอยพรรณ เชี่ยวชาญ. บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน. ปี 2559.วิทยาลัยนวัฒกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล. แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. ปี 2559.วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พระสุดรักษ์ วิสุทฺโธ. บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชนในตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปี 2561. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรรถชัย คล่องแคล่ว. บทบาทของผู้สูงอายุกับการพัฒนาชุมชนย่อยที่14 (ป่ายาง) เทศบาลเมืองจันทบุรี. ปี 2560. หลกัสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจดัการภาครัฐและภาคเอกชนวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระประเสริฐ นารโท เเละคณะ. การดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช.ปี 2560. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ.

นิติ แก้วชื่น. การดำเนินงานสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ปี 2560. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สามารถรุ่งโรจน์. ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี. ปี 2560. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทธิวรรณ สว่างเนตร. ความต้องการด้านสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ปี 2561. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13