ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19 ในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, สมุนไพร, โควิด-19บทคัดย่อ
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 การรักษาการติดเชื้อต้องใช้งบประมาณสูงทั้งการรักษา การนําเข้ายาและวัคซีนจากต่างประเทศ การใช้สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อดูแลสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19 เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.49 มีช่วงอายุ 20-22 ปี ร้อยละ 64.94 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 96.10 และได้รับข่าวสารจากสื่ออินเทอร์เน็ต ร้อยละ 75.58 ระดับความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.29 ทัศนคติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80.52 และพฤติกรรมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 76.11 จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ได้แก่ คณะที่ศึกษา (= 42.160, p-value = 0.004) ความรู้พบความสัมพันธ์ทางบวกระดับน้อยมาก (r = 0.100, p-value = 0.044)และทัศนคติพบความสัมพันธ์ทางบวกระดับน้อยมาก (r = 0.390, p-value = 0.000) ตามลำดับ
จากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพร เพื่อให้เกิดความเข้มเเข็งและยั่งยืนในการดูเเลสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19 ต่อไป
References
องค์การอนามัยโลก. รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ฉบับที่ 214. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://cdn.who.int
ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรโรงพยาบาลอภัยภูเบศร. คู่มือการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร. [จุลสาร]. ปราจีนบุรี: 2564.
นภสร ผองใส, ชวลิน อินทรทอง, ดวงทิพย สนธิเมือง, ภัทรศศิร เหลาจีนวงค, บดินทร ชาตะเวที. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ฟ้าทะลายโจรในการดูแลสุขภาพช่วงภาวะติดเชื้อโควิด-19 ของประชาชนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. Thai Bull Pharm Sci. 2022;17(1):57-69.
วิริญญา เมืองช้าง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2559.
กองวิชาการและแผนงานกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แนวทางปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. [จุลสาร]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
วิไลลักษณ์ ภูประเสริฐ. การใช้สมนุไพรของประชาชนในเมืองท่าพระบาทแขวง บอลิคำไซสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2553.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ของคนประจำเรือไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2556; 8(2): 84-102.
Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications; 1973.
ทัศดาพร แจวิจารณ์, ณัฏฐณิชา สนั่นก้อง, นัซมีน เจ๊ะกา, สุกาญจนา กำลังมาก เเละยมล พิทักษ์ภาวศุทธิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19 ในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 8; 21 กุมภาพันธ์ 2566; มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา; 2566. น. 362-369.
Bloom, Benjamin S., et al. Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.
Best, John W., et al. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.
ภิษณี วิจันทึก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประชาชน บ้านหนองบัวศาลา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2563, 31 (1) : 12-21.
โรสนานี เหมตระกูลวงศ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ และจีราพัชร์ พลอยนิลเพชร. ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในเขต เทศบาลนครยะลา ตําบลสะเตง อําเภอเมือง จังหวัดยะลา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11; 17 กรกฎาคม 2563; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา; 2563. น. 1979-1986.
จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย, รัฐพล ศิลปรัศมี, พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, ณัฏฐปวีร์ มณีวรรณะ, รสริน น้อยเจริญ เเละสุกานดา ใจมา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในช่วงสถานการณ์ COVID-19 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี. 2565, 16 (2): 135-151.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น