การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูง ของชุมชนบ้านเสียว ตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูงของคนในชุมชนบ้านเสียว ตำบลหนองปลาปาก จำนวน 375 คน การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาพฤติกรรม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยสหสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า การดูแลตนเองของชุมชนบ้านเสียว ตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.00 มีระดับทัศคติเกี่ยวกับการดูแลตนเองช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูงโดยภาพรวม คิดเป็น
ร้อยละ 72.80 และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.56)
ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูงของคนในชุมชนบ้านเสียว ตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้น ระดับความรู้ที่ดีขึ้นจะสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.578)
References
สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน, นิรชร ชูติพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3(1): 110-128.
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ปี 2562. http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13865&tid=&gid=1-015-005
ณิชารีย์ ใจคําวัง. พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง:กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2558; 3(2): 173-184.
วัชราภรณ์ นาฬิกลุ, ลำไพร แทนสา, สุรภา พิลาออน. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563; 2(1): 76-90.
Harding JL, Pavkov ME, Magliano DJ, Shaw JE, Gregg EW. Global trends in diabetes complications: a review of current evidence. Journal of Diabetologia 2019; 62: 3-16.
Yamane Taro. Statistics and introduction analysis 1976 (2nded). New York: Harper and Row.
Vagias WM. Likert-type scale response anchors. Clemson International for Tourism & Research Development, Department of Parks, Recreation and Tourism Management. Clemson University 2006; 7-8.
ณัฐพร อยู่ปาน, พัชรี ดวงจันทร์, พนิดา แจ่มผล. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความเชื่อด้านสุขภาพพฤติกรรมกรดูแลตนเองและความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2558; 10(1): 10-18.
ลักษณา พงษ์ภุมมา, ศุภรา หิมานันโต. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิชาการ 2560; 20(40): 67-76.
อร่าม อามีเราะ, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรู้และทัศนคติที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2561; 37(1): 38-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น