การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอย่างต่อเนื่องที่บ้าน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เกษราภรณ์ บรรณวงศิลป์ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การพยาบาล ระยะฟื้นฟู โรคหลอดเลือดสมองตีบ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอย่างต่อเนื่องที่บ้าน กรณีศึกษา 2 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติกำหนดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย จากผู้ป่วยและญาติตั้งแต่ระยะจำหน่ายและระยะฟื้นฟูที่บ้าน ใช้แนวคิดการประเมินสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วยกำหนดข้อวินิจฉัยเพื่อวางแผนการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยต่อเนื่อง

ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 75 ปี อาการสำคัญ แขน ขา ข้างซ้ายอ่อนแรง เป็นมา 16 ชั่วโมง ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน เมื่อพ้นภาวะวิกฤตจำหน่ายกลับบ้านมีสามีเป็นผู้ดูแล กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 63 ปี อาการสำคัญ แขน ขา ข้างขวาอ่อนแรง เป็นมา 2 ชั่วโมง 30 นาที ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันเมื่อพ้นภาวะวิกฤตจำหน่ายกลับบ้านมีบุตรสาวเป็นผู้ดูแล

References

World Stroke Organization. Annual reports 2019. [Internet]. 2019 [cited 14 Nov 2020]; Available from: http://www.world-stroke.org/about-wso/annual-reports.

ทีมสุขภาพโรคหลอดเลือดสมอง. คู่มือระบบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เครือข่ายจังหวัดขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่1. ขอนแก่น: หจก คลังนานาวิทยา; 2562.

มรดก หมอกไชย. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน: ราย กรณีศึกษา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563; 5(3): 60-67.

โรงพยาบาลขอนแก่น. 2564. รายงานประจําปี 2564. กลุ่มงานสารสนเทศ: ขอนแก่น; 2565.

Fillit HM, Rockwood K, Wood house K. Brocklehurst’s textbook of geriatric medicine and Gerontology.Elsevier: Saunders; 2010.

Siritipakorn P, Puwarawuttipanit W, Pinyopasakul W,Muangpaisan W. The relationships among caregiver burden, learn resourcefulness and health status in family caregivers of dementia patients. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine 2012; 13(2): 25-35.

มินตรา ธรรมกุล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในชุมชน : รายกรณีศึกษา. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2564; 1(2): 64-76.

แผนการนิเทศการพยาบาล งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์. การวางแผนจำหน่าย (Discharge planning) และการดูแลต่อเนื่อง (Continuing Care) [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น:

งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 13 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nurse.kku.ac.th/index.php.

Roppaire, J. Nursing care of patient acute ischemic stroke: Case study 2 case. Mahasarakham Hospital Journal. 2015; 12(2): 9-16.

Troke STS, Roup STG. Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. The National Institute of Neurological Disorders and Stroke rt-PA Stroke Study Group. N Engl J Med. 1995; 333(158): 1-7.

Hacke W, Kaste M, Bluhmki E, Brozman M, Dávalos A, Guidetti D, et al. Thrombolysis with alteplase 3 to 4.5 hours after acute ischemic stroke. N Eng J Med.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่1: กรุงเทพฯ.; 2559.

อรทัย พงษ์แก้ว. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในชุมชน : รายกรณีศึกษา. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สคร.8. 2560; 11(1): 61-71.

สุภางค์ จริภักดิ์.การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน:รายกรณีศึกษา วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2557; 28(3):807-817.

Gordon, Moo. Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw- Hill. 1994.

Orem, D. E. (2001). Nursing Concepts of Practice. The United States of America: Mosby,Inc.

Naylor, M. D. Transitional care model. Retrieved. [Internet]. 2004 [Cited 11 November 2012]; Available from: http://ftp.ipro.org/index/cmsfilesystemaction.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-08