การประเมินความต้องการจำเป็นพื้นฐานทางด้านสุขภาพของประชาชน: กรณีศึกษาชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญและชุมชนริมคลอง ซอยพหลโยธิน 54

ผู้แต่ง

  • ธนพร แย้มสุดา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • จุไรรัตน์ ชลกรโชติทรัพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การประเมิน, ความต้องการจำเป็นพื้นฐานทางด้านสุขภาพ, ประชาชนในชุมชน

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของคนในสังคม การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความต้องการจำเป็นพื้นฐานทางสุขภาพของประชาชนที่อาศัยในชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ และชุมชนริมคลอง ซอยพหลโยธิน 54 เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 170 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามความต้องการจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพ ของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ  มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา

ผลการวิจัย: ประชาชนร้อยละ 96.79 มีอาหารและน้ำเพียงพอแก่การบริโภคตามความต้องการ ร้อยละ 95.72 สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และร้อยละ 50.21ได้รับสื่อที่ส่งเสริมการบริโภคที่เกินความต้องการ สื่อเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง ทั้งนี้ สมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดี มีการแสดงความรัก เอาใจใส่ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.55, S.D.0.74) ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด แต่ได้รับ/เข้าถึงสื่อที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.72, S.D.1.13) แต่ยังอยู่ในระดับมาก ลำดับความต้องการจำเป็นพื้นฐานทางด้านสุขภาพสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ต้องการมีสื่อที่เหมาะสม การมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ดังนั้น จึงควรคัดเลือกข้อมูลทางสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. นิยามและประเภทของครอบครัว 2562.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19ต่อครัวเรือนในประเทศไทย พ.ศ. 2565. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th

World Health Organization. WHOQOL: Measuring Quality of Life 2022. [Internet]. [cited 23 October 2022]; Available from: https://www.who.int/

กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก 2016. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/whoqol/

Maslow, AH. A theory of human motivation. Psychological Review 1943. [Internet]. [cited 13 November 2022]; 50(4): 370–396. Available from: https://doi.org/10.1037/h0054346

ดวงเดือน ศาสตรภัทร. สูงวัยอย่างมีคุณภาพชีวิตและเป็นสุข 2564. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.orst.go.th/royin/iwfm_search.asp

Cheng, H, Green, A, Wolpert, M, Deighton, J, & Furnham, A. Factors influencing adult quality of life: Findings from a nationally representative sample in the UK. Personality and Individual Differences 2014; 68: 241-246.

วาธิณี วงศาโรจน์, พนาวัน เปรมศรี, วรรณวิภา ไตลังคะ และ ภาสกร ดอกจันทร์. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ : ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง. Journal of Modern Learning Development 2565; 7(3): 295-309.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2565-2569. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/sites/default/files/statgic_plan-2569.pdf

สุวิมล มีแสง. ถอด 11 กระบวนท่า การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง ชุมชน “ศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54” 2564. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: http://web.codi.or.th

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). ความหวังของชาวชุมชนเพิ่มสินร่วมใจในการอยู่อาศัยร่วมกับคลอง 2558. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://ref.codi.or.th/new-klong/14216-2015-10-28-11-19-49

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การกำหนดขนาดตัวอย่าง (ม.ป.ป.). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://agecon-extens.agri.cmu.ac.th/Course_online/Course/352441

มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดตัวอย่างเพื่อการวิจัย 2557. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf

มลฤดี เพ็ชร์ลมุล, นุจรินทร์ โพธารส, อัญชลี เชี่ยวโสธร ดูวอล, นิติกุล บุญแก้ว, ศศิกาญจน สกุลปัญญวัฒน์ และคณะ. การประเมินความต้องการจำเป็นทางด้านสุขภาพของชุมชนเคหะคลอง 7. EAU Heritage Journal (Science and Technology) 2558; 9(3): 184-195.

องอาจ นัยพัฒน์. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณละเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2548. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

หน่วยปฏิบัติการวิจัย DIRU นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 15 ความเสี่ยงบนโลกออนไลน์และความรอบรู้ทางดิจิทัลของคนไทย 2566. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://www.diru.commarts.chula.ac.th/service/

กนกวรา พวงประยงค์ และสานิตย์ หนูนิล. สังคมชนบทไทยสมัยใหม่กับปัจจัยกำหนดวิถีการดำเนินชีวิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2561; 44(2): 34-64.

นุชนารถ ชื่นฤดี. ความพึงพอใจในชีวิตของชุมชนกองขยะในจังหวัดจันทบุรี : กรณีศึกษาบ้านล่างพูนทรัพย์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. 2560.

Chumpeeruang, S, Jampha, W, and Vithayachockitikhun, N. Factors Correlation to Quality of Life of the Elderly Living on Muang Nakhonsawan Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2022; 7(8): 489–503.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-11