พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ธธิธา เวียงปฏิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นัชชา ยันติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้สูงอายุ, COVID-19, เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามความรู้ โดยใช้ค่า KR-20 เท่ากับ 0.87 แบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.91 และ 0.79 ตามลำดับ ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคฯ ระดับปานกลาง ร้อยละ 75.0 ทัศนคติ ระดับปานกลาง ร้อยละ 76.9 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ระดับปานกลาง ร้อยละ 73.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคฯ ได้แก่ เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย สถานภาพ ลักษณะการอยู่อาศัย โรคประจำตัว ประวัติการป่วยโรค COVID-19 ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ ปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการบริโภคอาหารเสริมภูมิคุ้มกันโรคฯ ที่ถูกต้องต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรม

เพื่อ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

กฤติน ชุมแก้วและชีพสุมน รังสยาธร (2557). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสงขลา : วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) ปีที่ 35 ฉบับที่ 1.

กัญชลี ไวว่อง (2564) . ความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 2 ภายใต้สถานการณ์ โควิด-19 : ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก.

พจนีย์ เผือกอ่อนคำ (2563). ทัศนคติของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ต่อการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุดาพร ราชาวงศ์และจารุณี จันทร์เปล่ง (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบ้านนา จังหวัดนครนายก : วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1.

สุพรรณี พฤกษา. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.

Bloom, Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03