ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การหกล้ม, ความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม, พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 162 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม การประเมินสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงภายในบ้าน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน การได้รับกำลังใจ และการกระตุ้นเตือน และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.8 เคยมีการหกล้มภายในบ้าน และมีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.31 โดยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ คือ การได้รับกำลังใจและการกระตุ้นเตือน (β = 0.272, p-value < 0.001) การประเมินสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงภายในบ้าน (β = -0.231, p-value = 0.002) และความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม (β = 0.194, p-value = 0.010) สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ได้ร้อยละ 17.0 (R2adj = 0.170, p-value < 0.001)
ข้อมูลดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพ เพื่อกำหนดแนวทางในการส่งเสริม วางแผน การดำเนินกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุตามชุมชนต่างๆ ให้มีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมต่อไป
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2562.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=12095&tid=&gid=1-027.
ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และกนกพร นทีธนสมบัติ. (2557). อุบัติการณ์การหกล้ม ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มและแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(1): 122-129.
Daniel, W.W. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley & Sons. 1995.
Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.
มานิตา รักศรี, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และเสาวลักษณ์ จิรธรรม. ผลของโปรแกรมการปรับความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562; 12(2): 132-150.
ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, อิทธิพล ดวงจินดา, กันธิมา ศรีหมากสุก, ศรีสุรางค์ เคหะนาค และ อังคณา บุญครอง. ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 14(2): 94-107.
อัศนัย เล่งอี้ และพันธพัฒน์ บุญมา. สภาพแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม: กรณีศึกษา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563; 19(3): 43-60.
นงนุช วงศ์สว่าง, ดนุลดา จีนขาวขำ, ชลธิชา บุญศิริ, สุรินทร์ มีลาภล้น, จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ์, เพ็ญจมาศ คำธนะ และธานี กล่อมใจ. ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) 2560; 10(3): 2492-2506.
ณัฐกฤตา ศิริโสภณ. ประสิทธิผลของนวัตกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19(พิเศษ): 501-502.
กนกวรรณ เมืองศิริ, นิภา มหารัชพงศ์ และยุวดี รอดจากภัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี. Naresuan University Journal: Science and Technology 2017; 25(4): 23-33.
สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม และอัมภิชา นาไวย์. การหกล้ม ความกลัวการหกล้ม และการจำกัดกิจกรรมเนื่องจากกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนชานเมืองเชียงใหม่ . วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563; 36(1): 22-38.
ณัฐชยา พวงทอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
ดวงหทัย แสงสว่าง, ดรุณวรรณ สมใจ, วิภาวรรณ เพ็งพานิช, สุวพัชร ปกครอง, สุธีธิดา มุ่งพูนกลาง, ชนัชพร บุญรักษ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนพัฒนาวัดกิ่ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2563; 14(3): 82-96.
กมลทิพย์ หลักมั่น. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น