ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสม ของกลุ่มวัยเรียน ในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ลลินา สกุลพาเจริญ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

คำสำคัญ:

ความรอบรู้สุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกัน, กัญชา, กลุ่มวัยเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสม และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มวัยเรียน ในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน จำนวน 173 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลศึกษา พบว่า นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ความรอบรู้ด้านทักษะการเข้าใจ ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูลอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนทักษะการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับไม่ดี พฤติกรรมการป้องกันการใช้กัญชาอยู่ในระดับดีมาก พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ เพศ ระดับการศึกษา และบทบาทสถานะไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการใช้กัญชา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันการใช้กัญชา พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.32, p-value < 0.05)

ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดี และมีพฤติกรรมป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสมที่ดียิ่งขึ้นไป

References

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) (2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-74.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและแผนสำคัญ

ปี 2565. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/annual-policy/

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. ผลกระทบของกัญชาต่อสมองเด็ก [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.medcannabis.go.th/activity/กัญชาทางการแพทย์

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139, ตอนพิเศษ 35 ง. (ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139, ตอนพิเศษ 272 ง. (ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565)

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139, ตอนพิเศษ 156 ง. (ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2565)

WHO. (1998). Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, World Health Organization. Geneva: 1-10

Daniel, W.W. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. Fourth Edition. New York: John Wiley & Sons 1987; 153-155.

กัลยาณี ตันตรานนท์, อนนท์ วิสุทธิ์ ธนานนท์, วีระพร ศุทธากรณ์, บังอร ศุภวิทิตพัฒนา, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร และเสาวนีย์ คำปวน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรวัยทำงาน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563; 16(2): 61-71.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องมือสำหรับวัยเรียนโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ ปี 2565 รอบที่ 2 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/436.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือรหัสบันทึกข้อมูลแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน สำหรับโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี. [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/436.

Cronbach, Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3 rd ed. New York: Harper. 1951.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ. เทพเนรมิตการพิมพ์; 2544: 316.

ประไพ กิตติบุญถวัลย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ และศักดิ์มงคล เชื้อทอง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม 2565; 7: 71-84

วรรณสว่าง ยานกาย, สัญญา เคณาภูมิ และสนุก สิงห์มาก. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนทรายมูลวิทยา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ 2561; 47: 1073-9.

ชิราวุธ ปุณณวิช และศิระปรุฬ ทองเทพ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ

ตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ในนักเรียนอายุ 10–14 ปี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2563; 5: 26-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24