ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาคตะวันออก: กรณีศึกษาอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ฉันท์ทิพย์ พลอยสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • รัตนชัย เพ็ชรสมบัติ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
  • ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ธนะวัฒน์ รวมสุก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, สมรรถนะการดูแล, ผู้สูงอายุ, ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีผลต่อสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาคตะวันออก: กรณีศึกษาอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ของผู้สูงอายุ จำนวน 245 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่ในระดับมาก ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ สามารถร่วมกันทำนายสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ร้อยละ 21 การรับรู้นโยบายด้านการดูแลผู้สูงอายุ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกันทำนายสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ร้อยละ 17 และการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถร่วมกันทำนายสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ร้อยละ 22 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ควรให้การส่งเสริมสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นเรื่องการนำครอบครัวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุ

References

นูไรฮัน ฮะ. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. เอกสารการประชุมเตรียมความพร้อมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้าร่วมจัดระบบการดูแลระยะยาวฯ (Long Term Care : LTC). [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/ downloads/37

นาฏยา นุชนารถ, ศิริชัย เพชรรักษ์, สุเทพ เชาวลิต. การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ 2561; 6(2): 768-779.

ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์,วรเดช ช้างแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560; 31(1): 16-28.

วรัญญา จิตรบรรทัด, พิมพวรรณ เรืองพุทธ, สุพัตรา สหายรักษ์, วัฒนา วาระเพียง. โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/ 11228/4808

Green, I. W., Kreuter, M. W. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: Emily Barrosse; 2005.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข. รายงานอสมอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ8 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaiphc.net/ phc/phcadmin/administrator/ Report/os/tambon.php?id=2709

Krejcie, R. V., Morgan, D. W. Determining sample size for research activities. Journal Education and Psychological Measurement. 1970; 30(3): 607-610.

Ayre, C., Scally, J. Critical Values for Lawshe’s Content Validity Raio: Revisting the Original Methods of Calculation. Measurement and Evaluation in Counseling and Development 2014; 47: 79-86.

Munro, B. H. Statistical methods for health care research. 5th ed. Philadelphia: Lippincott William & Wilkins; 2005.

ณิชชารีย์ พิริยจรัสชัย, ศิริพันธุ์ สําสัตย์. ปัจจัยทำนายความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19 (ฉบับพิเศษ): 231-40.

เกษสุวรรณ สังหาวิทย์. สมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2561.

วรัชญา ทิพย์มาลัย. พฤติกรรมและการรับรู้ข้อมลูข่าวสารสิทธิของผู้สูงอายุ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2562: 6(2). 247-264.

ยุทธนา แยบคาย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2561; 42(2): 179-186.

มลวิภา กาศสมบูรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคเหนือ 2560; 29(2): 108-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21