ปัจจัยทางการบริหารและการมีส่วนร่วมในงานสุขาภิบาลอาหารที่มีผลต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ปุณณดา มูลศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดร. นพรัตน์ เสนาฮาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดร.สุรชัย พิมหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดร.นครินทร์ ประสิทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, การมีส่วนร่วม, สุขาภิบาลอาหาร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและการมีส่วนร่วมในงานสุขาภิบาลอาหารที่มีผลต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 134 คน จากประชากร 156 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 3.61 (S.D.= 0.66) ภาพรวมปัจจัยทางการบริหาร และภาพรวมการมีส่วนร่วมในงานสุขาภิบาลอาหาร มีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.739, p-value < 0.001 และr = 0.833, p-value < 0.001) ตามลำดับ

การมีส่วนร่วมในด้านการรับผลประโยชน์การมีส่วนร่วมในด้านการติดตามและประเมินผล และปัจจัยทางการบริหารด้านกระบวนการบริหาร ตัวแปรทั้ง 3 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์

References

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวคิดด้านสุขาภิบาลอาหาร.2556; นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จีรฉัตร จิรวัฒนานุกูล และวารณี บุญช่วยเหลือ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตรวจสถานที่ผลิตอาหารของพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับตำบลในจังหวัดราชบุรี. ไทยไภษัชยนิพนธ์ 2562; 14(2): 61–76.

พีรพงศ์ ภูสด, ประจักร บัวผัน, และมกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดหนองบัวลำภู. วาราสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562; 19(3): 109-119.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. 2558; ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิกร บาลี และชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(3): 586-594.

ศรัณยา พันธุ์โยธา และประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2563; 21(2): 152-165.

Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. World management. New York: McGraw- Hill.1986.

Keith, Davis and Newstrom, John W. Organizational Behavior. New York: McGraw – Hill Book Company. 1989.

นัชชา ทิพเนตร. การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2565; 9(8): 395-413.

พงศกร ฉันทะกุล.การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์.วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2562; 6(2): 199-214.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. 2564; กาฬสินธุ์: สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd edition. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.1988.

วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากูล เบญจมาศตุลยนิติกุล. สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์. 2547; กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง.

Likert, R. The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill.1967.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น 2547;ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2560.

Ellison, K.W. Fundamental of social statistics. New York: McGraw-Hill.1990.

จรัสศรี อาจศิริ. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2564; 4(2): 57-68.

นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน และมกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2563; 20(2): 84-95.

นิชาภา หลังแก้ว และชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564; 15(8): 685-704.

รุสนีย์ ไวยากรณ์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และเบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วม การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลเอกชน.วารสารพยาบาลสาร 2562; 46(2): 142-151.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-18