ผลลัพธ์ของการจัดการด้านยาในผู้ป่วยสูงอายุไตวายเรื้อรัง คลินิกโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การจัดการด้านยา, ปัญหาการใช้ยา, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองแบบไปข้างหน้า (prospective quasi-experimental design) เพื่อศึกษาการติดตามผลลัพธ์ของการจัดการด้านยาในผู้ป่วยสูงอายุไตวายเรื้อรังระยะ 3 ขึ้นไป ณ คลินิกไตวายเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะ 3 ขึ้นไปและมีโรคเบาหวานร่วมด้วย โดยติดตาม 3 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test, ANOVA, Wilcoxon signed rank test
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 73 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.3 อายุ 60-70 ปี ร้อยละ 64.4 เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะ 3 ร้อยละ 41.1 พบปัญหาการใช้ยา 43 ปัญหา แพทย์ยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรในการแก้ปัญหาการใช้ยา ร้อยละ 97.7 ผลลัพธ์ทางคลินิกเดือนที่ 0, 1, 3 ในผู้ป่วย 17 ราย และเดือนที่ 0, 2, 4 ในผู้ป่วย 56 ราย พบค่าเฉลี่ยของพารามิเตอร์ทางคลินิกที่ลดลงจากค่าเริ่มต้น ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ค่าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ค่าซีรัมครีเอตินิน ค่าน้ำตาลสะสม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
การจัดการด้านยาโดยเภสัชกรสามารถค้นหาและแก้ปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังที่มีโรคเบาหวาน โดยแพทย์ให้การยอมรับต่อคำแนะนำของเภสัชกร จึงควรมีการดำเนินการจัดการด้านยานี้อย่างต่อเนื่อง
References
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต 2558. กรุงเทพมหานคร.
Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010; 25: 1567-75.
กรมควบคุมโรค. ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง 2565.นนทบุรี.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังในเขตรับผิดชอบจำแนกตาม stage. 2561. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&id=5d523ced4c9569123109fa6f4071d35f
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังในเขตรับผิดชอบจำแนกตาม stage. 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&id=5d523ced4c9569123109fa6f4071d35f
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ จำแนกตาม stage 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&id=5d523ced4c9569123109fa6f4071d35f
โรงพยาบาลหนองกุงศรี. ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังและเป็นเบาหวานที่มารับบริการคลินิกไตวายเรื้อรัง. 2561-2563. กาฬสินธุ์
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561.
Ponticelli C. Drug management in the elderly adult with chronic kidney disease: A Review for the primary care physician. Mayo Clin Proc 2015; 90(5): 633-45.
American pharmacist’s association and the national association of chain drug stores foundation. Medication therapy management in pharmacy practice: Core elements of an MTM service model (Version 2.0). J Am Pharm Assoc 2008; 48(3): 341-53.
Cardone KE. Chronic kidney disease MTM data Set. Medication therapy Management: A comprehensive approach. McGraw Hill; 2018. [Online]. 2023 [Cited 2023 May 7] Available:from:https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=1079§ionid=61424690
สิริกาญจน์ วงษ์จันทร์, วิศิษฎ์ ตันหยง. การพัฒนาระบบการจัดการด้านยาของผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย ผ่านโปรแกรม Hosxp. วารสารไทยไภษัชนิพนธ์ 2561; 13(2): 53-68.
วารี จตุรภัทรพงศ์. พรรณทิพา ศักดิ์ทอง. ผลลัพธ์ของการจัดการด้านยาในผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานวารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2556; 8(4): 133-42.
อภิรติ หย่างไพบูลย์, มยุรี ตั้งเกียรติกําจาย, สมฤทัย วัชราวิวัฒน์. การตอบรับของแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั้งได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อการให้บริบาลทางเภสัชกรรม; 4(2): 217-26.
กันยารัตน์ พรหมคําแดง, ฐิติพงศ์ ศิริลักษณ์. ผลลัพธ์ทางคลินิกของการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโรงพยาบาลเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยพยาบาลและสาธารณสุข 2566; 3(1): 1-19.
Cipolle RJ, Strand LM, Morley PC, Ramsey R, Lamsam GD. Drug-related problems: Their structure and function. DJCP Ann Pharmacother 1990; 24: 1093-7.
American geriatrics society 2019 Beers criteria updated expert Panel. American Geriatrics Society 2019 Updated AGS Beers Criteria for Potentially Inappropriate Medication Use in Older Adults. J Am Geriatr Soc 2019; 00:1– 21.
Limpawattana P, Kamolchai N, Theeranut A, Pimporm J. Potentially inappropriate prescribing of Thai older adults in an internal medicine outpatient clinic of a tertiary care hospital. Afr J Pharm Pharmacol 2014; 7(34): 2417-42.
American diabetes associated. Older adult: standards of medical care in diabetes 2022. Diabetes care 2022; Diabetes Care 2022;45(Supplement_1): S195–S207.
Duckworth W, Abraira C, Moritz T. VADT Investigators. Glucose control and vascular complications in veterans with type 2 diabetes. N Engl J Med 2009; 360:129.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น