ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก กับพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก ของผู้มารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก, พฤติกรรมสุขภาพช่องปาก, ผู้มารับบริการทันตกรรม, การแปรงฟัน, การใช้ไหมขัดฟันบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก กับพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของผู้มารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ มารับบริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลห้วยผึ้ง อายุ 15-60 ปีจำนวน 320 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พฤติกรรมสุขภาพช่องปาก และแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้
ด้านสุขภาพช่องปาก กับพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก โดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แปรงฟันเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ร้อยละ 72.19 ไหมขัดฟัน ร้อยละ 19.69 ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก คะแนนเฉลี่ย 25.44±6.73 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 30.63 องค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ ทักษะการตัดสินใจ ร้อยละ 76.75 น้อยที่สุด คือ การรู้เท่าทันสื่อ 60.33 ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับการแปรงฟัน (p-value < 0.001) และการใช้ไหมขัดฟัน (p-value < 0.001)
ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุขควรมีการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
References
กรมอนามัย. แนวคิด หลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สขรส.), 2561.
เมธินี คุปพิทยานันท์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมทางจิตพฤติกรรมศาสตร์เพื่อปลูกฝังและพัฒนาพฤติกรรมทันตสุขภาพ เด็กนักเรียนประถมศึกษา. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2546.
Wilhelm, K. Encyclopedia of Public Health. Berlin: Springer, 2008.
Afshee, L. et al. Assessment of relationship between oral health behavior, oral hygiene and gingival status of dental students. Indian Jornal of Dental Research2 2015;26(6): 592-597.
กรมอนามัย. การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเอง. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/hp-ebook_04_mini
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผู้ป่วยนอกที่รับบริการทางทันตกรรม ในผู้มีอายุ 15-59 ปี. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก: Health Data Center: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
โรงพยาบาลห้วยผึ้ง. Service Profile กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม, 2566.
สูตร Taro Yamane สำหรับการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://greedisgoods.com/taro-yamane
พันธ์นภา จิตติมณี. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562.
กองสุขศึกษา. รายงานผลการดำเนินงานพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565.
รอซีกีน สาเร๊ะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ และกัลยา ตันสกุล. ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพกับการดูแลสุขภาพช่องปากของวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดยะลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 27-39.
ศิริภา คงศรี, สดใส ศรีสอาด. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปาก ของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตภิบาล. มิ.ย.2563: 133-147.
ทรงวิทย์ จโรภาสรัตน์. การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากสำหรับผู้มารับบริการทันตกรรมวัยผู้ใหญ่ในบริบทของสังคมไทย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น