ระดับทัศนคติและการมีส่วนร่วมต่อมาตรการการดำเนินการนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมในสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้มาตรการสาธารณสุข กรณีศึกษา Sandbox เชียงคาน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • นิติรัตน์ มีกาย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ระดับทัศนคติ, การมีส่วนร่วม, นโยบายเศรษฐกิจสุขภาพ, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับทัศนคติและการมีส่วนร่วมต่อมาตรการการดำเนินการนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมในสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้มาตรการสาธารณสุข กรณีศึกษา Sandbox เชียงคาน จังหวัดเลย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณทำการประเมินในผู้ประกอบการในพื้นที่การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า ด้านระดับทัศนคติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.58) ข้อที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับทัศนคติเห็นด้วยมากที่สุด คือ โครงการช่วยให้การท่องเที่ยวดีขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.49) ด้านส่วนร่วมของผู้ประกอบการทีมีต่อมาตรการการดำเนินการนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพ พบว่า ผลรวมการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.61) ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมด้านการวางแผนอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.58, S.D. = 0.62)

จากศึกษาครั้งนี้ พบว่า ผู้ประกอบการมีระดับทัศนคติที่ดี และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายวางแผนการดำเนินงานจะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปได้โดยง่าย เพราะผู้ประกอบการจะมีความเข้าใจ และเกิดความรับผิดชอบซึ่งมีส่วนสำคัญในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานสาธารณสุข ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวต่อไป

References

สุริยะ หาญพิชัย และฑัชวงษ์ จุลสวัสดิ์. ผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. Journal of Roi Kaensarn Academi 2564; 6(9): 126.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). ผลกระทบทางสังคมของการระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่และมาตรการที่ควรมี. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57120

รัฐบาลไทย. ข่าวนายกรัฐมนตรี. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2021/01/impact-of-new-covid-19-wave/.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนรองรับนโยบายเปิดประเทศ ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสถานการณ์ COVID –19. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1wtsk34ETWky7aCfK0mHwsUb3uEuo-ydM

Thailand Plus. สธ.ลงพื้นที่เชียงคาน ย้ำสถานประกอบการ – นักท่องเที่ยว เข้มปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thailandplus.tv/archives/442337

คลังสื่อประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กรม สบส. จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการฮักเลย – เชียงคาน และติดตามความก้าวหน้าตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน (SOP). [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/91qJx.

กฤษฎา พรหมมุณี. พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) : กรณีศึกษาตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. สารนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2565: ก.

ชูศรี พานทอง. สถิติพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2543.

ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย และรุ่งเรือง ทองศร. การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2564; 7(8): 405.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. การปรับตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในสภาวะวิกฤตโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)). วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2563; 8(1): 2.

กรกนก จิรสถิตพรพงศ์. ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดีของรัฐบาล กรณีศึกษาสถานการณ์ COVID-19. วารสารธรรมศาสตร์ 2564; 40(3): 107.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ 2560; 2(1): 176.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-02