ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี ปัญญาวชิรชัย กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

โปรแกรมความเข้มแข็งทางใจ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 60 คน แบ่งเป็น
กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ กลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมในชุมชนตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามทั่วไป และแบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ t-test

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้มแข็งทางใจโดยรวม และรายองค์ประกอบ ด้านความทนทานทางอารมณ์ ด้านกำลังใจ และด้านการจัดการกับปัญหาหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05

การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจสามารถเพิ่มความเข้มแข็งทางใจ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ อสม. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม อสม.ให้สามารถเผชิญกับภาวะยากลำบาก วิกฤติในชีวิต และดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข

References

กระทรวงสาธารณสุข. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554 พร้อมด้วยกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/2580.pdf. (2557).

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก) พ.ศ. 2552. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/NoticeProjectOSM2552.pdf. (2554).

กองการพัฒนาชุมชน สำนักพัฒนาสังคม. สถิติข้อมูลชุมชนของกรุงเทพมหานคร. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkok.go.th/ social/page/sub/13707. (2562).

อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล, ชนัญญู มงคล และเนตรชนก ศิริเลิศรุ่งเรือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา. 2562; 20(2): 83-91.

กรมสุขภาพจิต. พลังสุขภาพจิตสร้างได้จริงหรือ!. นนทบุรี: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต; 2552.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดูแลจิตใจในภาวะวิกฤต พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2550.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือดูแลจิตใจประชาชนสำหรับผู้นำชุมชน และ อสม. ชุมชน หัวใจมีหู ต่อสู้ ! โควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต. 2563.

Osofsky HJ, Osofsky JD, Hansel TC. Deepwater horizon oil spill: Mental health effects on residents in heavily affected areas. Disaster Med Public Health Prep 2011; 5(4):280-6. doi: 10.1001/dmp.2011.85.

กรมสุขภาพจิต. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2563.

กุลปริยา ศิริพานิช. บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของความยืดหยุ่นทางจิตใจในความสัมพันธ์ระหว่างวิตกกังวลในการเข้าสังคมกับสุขภาวะทางจิตในนิสิตนักศึกษา [ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559.

Konaszewski K, Niesiobedzka M, Surzykiewicz, J. (2021). Resilience and mental health among juveniles: role of strategies for coping with stress. Health Qual Life Outcomes. 2021 Feb 18;19(1):58. doi: 10.1186/s12955-021-01701-3.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. รายงานจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP000S8.php. (2566).

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

Grotberg, E. A. Guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. Netherlands: Bernard Van Leer Foundation. 1995.

กรมสุขภาพจิต. หลักสูตรเสริมสร้างพลังใจ อึด ฮึด สู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พัยลิสชิ่ง; 2564.

เยาวนาฎ ผลิตนนท์เกียรติ, สมพร อินทร์แก้ว, กาญจนา วณิชรมณีย์. การพัฒนาแบบประเมินพลังสุขภาพจิตสำหรับประชาชนไทยวัยผู้ใหญ่ อายุ 25-60 ปี. วารสารจิตวิทยาคลินิก. 2555; 43: 53-6.

สมพงษ์ นาคพรม. ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตในการลดภาวะเหนื่อยหน่ายในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า. 2565; 33(1): 224-38.

Reivich, K., & Shatté, A. The resilience factor: 7 essential skills for overcoming life's inevitable obstacles. Broadway Books. 2002.

สมจิตร์ นคราพานิช และรัตนา พึ่งเสมา. ปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลชั้

นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2564; 35(1), 128-145.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-03