ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล ผลโยน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การใช้ยาไม่สมเหตุผลเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่เกิดขึ้นทั่วโลก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 348 คน โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาโดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน

ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 35.3 และมีพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 65.8 และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.02 (r = 0.125)

ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลโดยการพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้สามารถนำไปถ่ายทอดแก่ชุมชนเพื่อลดปัญหาการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผลในชุมชนต่อไป

References

World Health Organization. Health promotion glossary Geneva: World Health Organization; 1998 [cited 2022 October 15]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HPR-HEP-98.1

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy:HL) เรื่อง การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2562.

องค์การอนามัยโลก. The rational use of drugs : report of the Conference of Experts, Nairobi, 25-29 November 1985; 1985.

นพคุณ ธรรมธัชอารี, นุชรินธ์ โตมาชา, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2565;16(3): 281-8.

กาญจนา เสียงใส, ลีลาวดี ศรีสอน และนริศรา พรมบุตร. การพัฒนาแนวทางเพื่อลดการจำหน่ายยาผิดกฎหมายของร้านชำในอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารเภสัชกรรมไทย 2564; 14(1): 62-9.

ชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์, สุนทรี ท. ชัยสัมฤทธิ์โชค, สมหญิง พุ่มทอง, ภูริดา เวียนทอง, ศิราณี ยงประเดิมและจันทนา ลี้สวัสดิ์. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุขสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000; 2563.

สุภนัย ประเสริฐสุข. บทเรียนการทำงานการจัดการปัญหาการใช้สเตอรอยด์ในทางที่ไม่เหมาะสม. วารสารคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (online) 2564; 1(1): 1-10.

พชรณัฐฏ์ ชยณัฐพงศ์. ปัญหาด้านยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังระหว่างการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกรในทีมหมอครอบครัวของเครือข่ายสุขภาพพรหมคีรี. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560; 9(1): 103-10.

สินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล, อุกฤษฏ์ สิทธิบุศย์. พฤติกรรมการใช้ยาของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ตำบลบ่อกวางทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 9(1): 117-28.

กฤศภณ เทพอินทร์, เสน่ห์ ขุนแก้ว. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2565; 14(1): 206-18.

จิตติยา ใจคำ, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ และอักษรา ทองประชุม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2564; 8(2): 1-24.

กฤษฏิ์ วัฒนธรรม, ธีรพล ทิพย์พะยอม และอัลจนา เฟื่องจันทร์. รูปแบบกิจกรรมและผลลัพธ์การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล: บทความปริทัศน์. เภสัชศาสตร์อีสาน 2564; 17(3): 1-15.

อุไรรัตน์ คูหะมณี, ยุวดี รอดจากภัย และนิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์ 2563; 45(1): 137-42.

ภานุชนาถ อ่อนไกล และกฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. ความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(2): 28-38.

ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม และนิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(1): 257-72.

วีระ กองสนั่น และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่่ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(1): 35-44.

พิชัย พวงสด, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่า และพุฒิพงษ์ มากมาย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์. 2563; 1(3): 1-12.

ศุทธินี วัฒนกูล, ศศิธร ชิดนายี, พิเชษฐ์ แซ่โซว, ดำริห์ ทริยะ, ศิวิไล ปันวารินทร์ และพรฤดี นิธิรัตน. ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563; 12(2): 72-82.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ฐานข้อมูล ณกส-อสม.อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 2566 [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/new2020/cremation/tambon?year=2562&district=4805#

Best J W. Research in Education. 3,editor. Englewood cliffs :N.J.: Prentice-Hall; 1977.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01