ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการต่อทักษะการพ่นยา และอาการหายใจลำบาก ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • วรรณนภา โพธิยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุพัตรา บัวที คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรชาติ สิทธิปกรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ทักษะการพ่นยา, โปรแกรมการจัดการอาการ, อาการหายใจลำบาก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง Quasi-experimental research แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการต่อทักษะการพ่นยาและอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 48 คน กลุ่มละ 24 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินประสบการณ์ 2) ให้ความรู้การจัดการอาการ 3) ฝึกทักษะการจัดการอาการ 4) ปฏิบัติการจัดการอาการ 5) ประเมินผลการจัดการอาการ ใช้แบบประเมินอาการหายใจลำบาก และทักษะการพ่นยา ใช้สถิติt-test พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการพ่นยา กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.61, p-value < 0.001) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบาก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมน้อยกว่ากลุ่มการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.85, p-value < 0.001) 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการพ่นยา กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 10.93, p-value < 0.05) 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบาก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -3.42, p-value < 0.05)

ข้อเสนอแนะ การนำโปรแกรมการจัดการอาการมาใช้ผู้ป่วยรับรู้อาการและสามารถจัดการอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดอาการหายใจลำบาก

References

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. Global strategy for the diagnosis

management and prevention of chronic obstructive lung disease 2017 [internet]. USA: Global initiative for chronic obstructive lung disease; 2017 [cited 2017 Jun 2]. Available from: http://goldcopd.org/

วราภรณ์ ตรีวิชา, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, หทัยชนก บัวเจริญ. แนวทางการจัดการกับภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันด้วยตนเองที่บ้านในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560; 18(1): 216-221.

ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์, กมลพร มากภิรมย์, สุดฤทัย รัตนโอภาส. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะกำเริบและมารักษาที่แผนกฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารอายุรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 30(2): 29-41.

van der Molen T, Miravitlles M, Kocks JW. COPD management: role of symptom assessment in routine clinical practice. International journal of chronic obstructive pulmonary disease 2013; 461-471.

เสาวนีย์ เหลืองอร่าม, พรทิพย์ ศรีโสภา, รวยริน ชนาวิรัตน์. การออกกำลังกายที่บ้านในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2561; 30(2): 226-236.

สุนีย์ เฮะดือเระ, กาญจ์สุภัส บาลทิพย์. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการจัดการอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยสูงอายุมุสลิมที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 2561; 8(15): 111-127.

Miravitlles M, D’Urzo A, Singh D, Koblizek V. Pharmacological strategies to reduce exacerbation risk in COPD: a narrative review. Respiratory Research 2016; 17: 1-15.

ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, วิภาณี คงทน, ธนพัชร์ สุมนวิวัฒน, วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย. อิทธิพลของเทคนิคการใช้ยาชนิดสูด การเกิดอาการกำเริบอายุและอุปสรรคในการรับการดูแลต่อความร่วมมือในการใช้ยาชนิดสูดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารวิทยาศาสตร์การพยาบาลแห่งประเทศไทย 2563; 38(2): 74-87.

กฤติมา โภชนสมบูรณ์. ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563; 65(1): 73-82.

บุญชรัสมิ์ ธันย์ธิติธนากุล, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมการพ่นยาร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2560; 28(2): 97-110.

อัญชลี วรรณภิญโญ, ปริญดา พีรธรรมานนท์. ประสิทธิผลการให้คำปรึกษาเรื่องยาและการติดตามการใช้ยาสูดพ่นโดยเภสัชกรในพระอาพาธโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 42(2): 49-57.

บัวชมพู เอกมาตร, เยาวรัตน์ มัชฌิม, จิณพิชญ์ชา มะมม, เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์. ประสบการณ์อาการของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารสภาการพยาบาล 2564; 36(2): 80-92.

นุชรัตน์ จันทโร, เนตรนภา คู่พันธวี, ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสามารถในการจัดการอาการและอาการหายใจลำ บากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38(3): 25-27.

อรสา ปิ่นแก้ว, วารี กังใจ, สหัทยา รัตนจรณะ. ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัดต่ออาการหายใจลำบากความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและความวิตกกังวลของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2564; 29(2): 61-70.

มณฑา ทองตำลึง, สุรีพร ธนศิลป์. ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิต่ออาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2559; 28(3): 44-54.

Dodd M, Janson S, Facione N, Faucett J, Froelicher E S, Humphreys J, et al. Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing 2001; 33(5): 668-676.

Gift AG. Validation of a vertical visual analogue scale as a measure of clinical dyspnea. Rehabil Nurs. 1989 Nov-Dec;14(6): 323-325.

แพรริณณ์ ธรรมจริยาภรณ์, เกวลิน ดำพัฒน์, วุฒิพงษ์ ทาเปี้ย, ตรีนุช เปี่ยมปรีชา, สุชาติ เปี่ยมปรีชา. ผลการพัฒนาและนำวีดีโอสอนพ่นยาชนิด Metered Dose Inhaler (MDI) ภาษากะเหรี่ยงมาใช้ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าสองยาง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2562.

ประเสริฐ ศรีนวล, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, หทัยชนก บัวเจริญ. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 20(2): 351-359.

O'Donnell DE, Milne KM, James MD, de Torres JP, Neder JA. Dyspnea in COPD: New Mechanistic Insights and Management Implications. Adv Ther. 2020 Jan; 37(1): 41-60.

วารุณี ติ๊บปะละ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ เสริมสร้างแรงจูงใจและฝึกทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมทางคลินิกในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2564; 40(1): 112-127.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01