ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกในการใช้งานแอพพลิเคชั่น “อสม. ออนไลน์” ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พันธะกานต์ ยืนยง โรงพยาบาลบางคล้า
  • ญาณันธร กราบทิพย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กนกกร จงประสิทธิ์ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
  • กนกรดา แก้วอ่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสุนทรธรรมิการาม อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
  • ณิชกานต์ ส่งแจ้ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • ธมนวรรณ นาลัย โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • ปาริฉัตร ทองนา ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
  • สุพรรษา ศรีโมรา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • ฐิติมา เดียววัฒนวิวัฒน์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สินีนาฏ โคตรบรรเทา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), แอพพลิเคชั่น “อสม. ออนไลน์”

บทคัดย่อ

ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นการพัฒนาความสามารถของบุคคลที่เป็นองค์ประกอบของพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกในการใช้งานแอพพลิเคชั่น “อสม. ออนไลน์” ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 84 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ภูมิหลัง และมาตราวัดทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกในการใช้งานแอพพลิเคชั่น “อสม. ออนไลน์” วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานประกอบด้วย Independent T-test และ One-way ANOVA

ผลวิจัย พบว่า ภาพรวมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกในการใช้งาน แอพพลิเคชั่น “อสม. ออนไลน์” ของ อสม. อยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.74, S.D. = 0.41) คุณลักษณะด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความหวัง การมองโลกในแง่ดี และความหยุ่นตัว อยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก พบว่า ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับภูมิหลัง และองค์ประกอบรายด้านของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก พบว่า สถานภาพแตกต่างกัน มีด้านความหวัง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ดังนั้น ควรสร้างแรงจูงใจ ติดตาม และให้คำแนะนำในการใช้แอพพลิเคชั่น “อสม. ออนไลน์”  โดยคำนึงถึงบริบทของชุมชนในการนำแอพพลิเคชั่นนี้ไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางพิจารณาในการพัฒนาสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

References

สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สบร.ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21.[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2563]; เข้าถึงได้จาก: http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/new-gen/262

กองสนับสนุนบริการสุขภาพภาคประชาชน. แนวทางการพัฒนาศักยภาพ อสม. 4.0.

[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2563]; เข้าถึงได้จาก: http://phc.moph.go.th /data_center/Guideline _VHV.4.0.pdf

กรกช ตระกูลจึง. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลแสนสุข [สัมภาษณ์]. นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลแสนสุข; 26 กันยายน 2563.

ภาสิต ศิริเทศ. ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 20(2): 58-65.

ธนพัทธ์ จันท์พิพัฒน์พงศ์. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกกับการทำงานอาสาสมัครของอาสาสมัครสตรี ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2561; 7: 121-132.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Academic press; 2013.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. คู่มือการเขียนรายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์, กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2551.

สหัทยา ถึงรัตน์. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

ชินตา เตชะ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19: 328-329.

จักรี ปัถพี. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. [ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิยาลัยศิลปากร; 2561.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, อมลวรรณ อนุการ, เบญจมาศ โนวัฒน์ และคณะ. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ.วารสาร มฉก.วิชาการ.2561; 21(42): 1-12.

เฉลียว สุวรรณกูฏ. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต.หนองไฮ อ.สำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. สาธารณสุขอำเภอสำโรง 2561; 1-3.

ประมวล เหล่าสมบัติทวี และพัชนี จินชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขของอาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Arts and Science 2557; 1(1): 99-111.

สุดปรีชา เตียติวิริยะกุล. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น; 2559.

วิภาพร สิทธิสาตร์.ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 9(1): 28-30.

สมพร พูลพงษ์ และกาญจนา สดับธรรม. การศึกษาและพัฒนารูปแบบผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นโดยการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการประสานงานระหว่างบุคคลและกลุ่ม. Journal of Graduate Review Nakhon Sawan Buddhist College 2563; 8(2): 123-133.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-07