ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปรีชา สุวรรณทอง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • วนิชา อินทรสร สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • วาริศา บุญเกิด สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค, อาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 100 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84 ปัจจัยการรับรู้ของบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรค การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันและควบคุมโรค ปัจจัยด้านทรัพยากร ได้แก่ ความเพียงพอของงบประมาณ ความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรค ทักษะการใช้ทรัพยากรในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การใช้นวัตกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การเข้าร่วมรณรงค์ป้องกันโรคและการยกย่องชื่นชม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางการวางแผน เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อไป

References

World Health Organization. Who library cataloguing-in-publication data global strategy for dengue prevention and control 2012-2020. Retrieved; 2019.

กรมควบคุมโรค. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/

สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2563-2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (2565). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cbo.moph.go.th/cbo/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคมโรคไข้เลือดออก จังหวัดชลบุรี ปี2560 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://www.cbo.moph.go.th/cbo/

สุภมาส อังศุโชติ. เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.stou.ac.th/offices/ore/info/cae/uploads/pdf/636366560441132172.pdf

อติเทพ จินดา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31(3): 555-568.

รสรินทร แก้วตา,ณรงค์ ใจเที่ยง. มาตรการการป้องกันโรคไขเลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา; 2563.

ภคอร โจทย์กิ่ง. การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนสามเหลี่ยม เทศบาลนครขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 24(2): 29-37.

สิวลี รัตนปัญญา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังและควบคุม โรคไข้เลือดออกใน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชพฤกษ์ 2561; 16(2): 87-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21