ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้, โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มี 4 กิจกรรมได้แก่ การค้นหาสภาพปัญหาการจัดกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกัน พฤติกรรมการดูแลตนเอง การประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลาศึกษาเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 พบว่า ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเท่ากับ 70.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 9.17 ภายหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนของพฤติกรรมการดูแลตนเองเท่ากับ 85.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 6.27 มีค่าสถิติ (t) เท่ากับ -6.775 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติค่า p-value <0.001
การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยสามารถปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองในด้านการรับประทานอาหาร
ด้านการออกกำลังกาย และด้านการรับประทานยา จึงควรมีการส่งเสริมและนำไปใช้ต่อไป
References
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคกับการดูแลรักษา และการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิสซิ่ง; 2551.
สมเกียรติ โพธิสัตย์ และคณะ. โรคเบาหวาน(Diabetes Mellitus). [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report8_7.pdf
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จํากัด; 2554.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวานให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวานให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/HfK45
กลุ่มงานโรคไม่ติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน. ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/xGS62
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จํากัด; 2554
Gibson, C.H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advance Nursing; 16: 354-361.
Gibson, C.H.(1993). A study of empowerment in mothers of chronically ill children. Unpublished doctoral dissertation. Boston Collage, Boston.
สุธิชาติ มงคล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อระดับน้ำตาลในเลือดและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสระโคล่ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]; 1(1): 1-13. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/fX2Qs
อุไรวรรณ พานทอง และพัชราภรณ์ ขจรวัฒนากุล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองระดับ HbA1C และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563; 30(1): 14-24.
เพ็ญศรี รอดพรม, นฤมล จันทร์สุข และนันตพร ทองเต็ม. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]; 9(5): 300-312. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/lDCSp
ชัยณรงค์ ทรงทอง. การเสริมพลังอำนาจในการป้องกันโรคเบาหวานของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 61 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]; 1(1): 61-68. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/gJFQ9
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น