ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา หงษ์คำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รชานนท์ ง่วนใจรัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การควบคุมป้องกันโรค, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, โรคโควิด-19, วัคซีนเข็มกระตุ้น

บทคัดย่อ

การได้รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันมีความสำคัญต่อการป้องกันควบคุมโรค และลดความรุนแรงจากโรคโควิด-19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 575 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage stratified cluster random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบพหุถดถอยลอจิสติก (Multiple logistic regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นในการป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่าหรือเท่ากับ 3 เข็ม เป็นร้อยละ 76.87 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นในการป้องกันโรคโควิด-19 ดังกล่าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (AOR = 1.85; 95%CI: 1.17–2.92; p-value = 0.008) สิทธิการรักษาพยาบาล (AOR = 2.94; 95%CI: 1.05-8.33; p-value = 0.041) โรคประจำตัวร่วม (AOR = 3.49; 95%CI: 1.43–8.53; p-value = 0.006) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (AOR = 2.86; 95%CI:1.54–5.33; p-value = 0.001) จาก อสม. (AOR = 3.02; 95%CI: 1.20–7.58; p-value = 0.019) จากสื่อออนไลน์ (AOR = 1.89; 95%CI: 1.10–3.32; p-value = 0.021) และพฤติกรรมการปฏิบัติตัว (AOR = 1.78; 95%CI: 1.14–2.77; p-value = 0.010)

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: ทีเอส อินเตอร์ พริ้นท์ จำกัด; 2564.

ขนิษฐา ชื่นใจ และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร]. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2564.

จิราพร บุญโท. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารควบคุมโรค 2565; 48: 22-32.

บวรลักษณ ขจรฤทธิ์ และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประชากรในจังหวัดสมุทรปราการ [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร]. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2564.

พรทิวา คงคุณ, ระวิ แก้วสุกใส, รังสฤษฎ์ แวดือราแม, บุญยิ่ง ทองคุปต์ และมูฮัมหมัดไซด์ ซาและ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้จำหน่ายอาหารจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564; 8: 133-145.

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2564; 3: 47-57.

รชานนท์ ง่วนใจรัก, อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง และจิรัญญา บุรีมาศ. ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา 2565; 45: 116-127.

รังสฤษฏ์ แวดือราแม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564; 8: 80-92.

สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, อนุชา ไทยวงษ์ และมลฤดี แสนจันทร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2565; 19: 197-206.

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น เข็ม 3 และ 4 จากการใช้จริง ในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://nvi.go.th/

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. ติดตามฉีดวัคซีน COVID-19 เขตสุขภาพที่ 1-13 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://r8way.moph.go.th/r8wayadmin/page/uploads_file/20220315060632.pdf

Harold O Kiess. Statistical concepts for the behavioral sciences. Boston: Allyn & Bacon; 1989.

Health Data Center (HDC). ประชากรผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยภูมิ. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc /main/index.php

Hsieh et al. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998; 17: p. 1623-34.

WHO. โรคโควิด 19 และปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/thailand/ncds/uniatf_policy-brief_ncds-and covid_final_th.pdf?sfvrsn=5c166f07_3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22