การศึกษาความรอบรู้ผลกระทบต่อสุขภาพและการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งปฏิกูล ที่ถูกหลักสุขาภิบาลของประชาชนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การมีส่วนร่วม, ผลกระทบต่อสุขภาพ, การจัดการสิ่งปฏิกูล, สิ่งปฏิกูล, พยาธิใบไม้ตับบทคัดย่อ
การจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล เป็นสาเหตุของโรคพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ผลกระทบต่อสุขภาพ การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ผลกระทบต่อสุขภาพกับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล ของประชาชน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 มีค่าเฉลี่ยของร้อยละความรอบรู้ผลกระทบต่อสุขภาพในภาพรวม ร้อยละ 82.0 โดยค่าเฉลี่ยของร้อยละความรอบรู้ด้านการตอบโต้ซักถามแลกเปลี่ยนข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพ มากที่สุด ร้อยละ 88.5 ด้านการมีส่วนร่วม พบว่าค่าเฉลี่ยรวมของค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วม 4.53 อยู่ในระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด และพบความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ผลกระทบต่อสุขภาพ กับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งปฏิกูล
ที่ถูกหลักสุขาภิบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ดังนั้น กรมอนามัยจึงควรพัฒนาหลักสูตรและสร้างความรอบรู้แก่ผู้ประกอบการรถสูบ สิ่งปฏิกูล เจ้าหน้าที่เทศบาล/อบต. อสม. และประชาชนทั่วไป เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยเฉพาะพยาธิใบไม้ตับ
References
สำนักงานสารนิเทศ. แหล่งข่าวเพื่อมวลชน: สธ. เผย WHO ระบุพยาธิใบไม้ตับเป็นเชื้อก่อมะเร็งท่อน้ำดี พบมากที่สุดในโลกที่ภาคอีสาน. กระทรวงสาธารณสุข; 18 มกราคม 2559.
Chai, J.-Y., Shin, E.-H., Lee, S.-H., Rim H.-J. Foodborne Intestinal flukes in Soutgeast Asia. Korean journal of Parasitology 2009; (l47): 69-S102.
World Health Organization. Control of Foodborne trematode infection . Report of WHO Scientific Group Primary immunodeficiency diseases.1995; (l99): 1-24.
Waraporn Phimpaphai, Sirikachorn Tangkawattana, Suwicha Kaseamsuwan, Banchob Sripa. Social Influence in Liver Fluke Trasmission: Application of Social Network Analysis of Food Sharing in THAI Isaan Culture. Advances in Parasitology 2018; (101): 97-124.
Jongsuksuntigul P, Imsomboon T. Epidemiology of opisthorchiasis and national control program in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1998; (29): 327-32.
Piboon Sithithaworn, Rose H Andrews Nguyen Van De, Thitima Wongsaroj, Muth Sinuon, Peter Odermatt, et al., The current status of opisthochiasis and clonochiasis in the Mekong Basin. Parasitology International 2012; (l61): 10-16.
วาทินี จันทร์เจริญ และปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี. รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลของผู้ประกอบการรถสูบสิ่งปฏิกูลและการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวพยาธิ จากตะกอนสิ่งปฏิกูลที่รถสูบสิ่งปฏิกูลนำไปทิ้งในที่ทางสาธารณะหรือเอกชนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
Daniel, W.W. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences ;4thed.. New York: John Wiley & Sons; 1987.
อมรรัตน์ หวลกะสิน, เพ็ญนภา ทองประไพ, อุดมผล พืชน์ไพบูลย์, และธรรมรัตน์ คุตตะเทพ. ทัศนคติของประชาชนต่อการจัดการสิ่งปฏิกูลในจังหวัดสงขลา. เอกสารการประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 11; 19-20 มิถุนายน 2558
วชิระ เพ็งจันทร์. สังคมไทยรอบรู้ด้านสุขภาพ. เอกสารประกอบการบรรยาย 24 กันยายน 2561สมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย; 2561.
ปราโมทย์ รอดจำรัส. พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2553.
บวรพิพัฒน์ กระแสเสน และจุฬาภรณ์ โสตะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562; 12(l2): 91-103.
ฉัตรลดา ดีพร้อม และเพชรัตน์ ศิริสุวรรณ.พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ บ้านสองห้อง ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัด กาฬสินธุ์.วารสารวิจัสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2561; 11(1).
รัชนีกร กุญแจทอง, สมจิตร พันธุโพธิ์, ศุจินันท์ ตรีเดช, สุมาลี จันทลักษณ์ และคณยศ ชัยอาจ. ความรอบรู้สุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กรมควบคุมโรค. 2563.
ปุณญณิน เขื่อนเพ็ชร์ และลำเนา วงค์ใจ. ประสิทธิผลของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะอ้วนลงพุงในผู้สูงอายุเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอแม่ลาว. เชียงรายเวชสาร [อินเตอร์เน็ต]. 2559; 7(1): เข้าถึงจาก: https://www.crhospital.org/cmj/article/FULL_20170802113839.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น