การพัฒนาระบบบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉิน เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การแพทย์ฉุกเฉิน, การพัฒนาระบบ, เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ศึกษาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมด 100 แห่ง ศึกษาระหว่างมิถุนายน-กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา, การวิเคราะห์เนื้อหาและการสรุปความแบบอุปนัย
ผลการวิจัย พบว่า ระบบระบบบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ด้านทรัพยากรบุคคล ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.24 (29.20/45) ด้านงบประมาณค่าคะแนนเฉลี่ย 2.38 (14.29/30) ด้านวัสดุอุปกรณ์ ค่าคะแนนเฉลี่ย 2.69 (13.45/25) และด้านการบริหารจัดการ ค่าคะแนนเฉลี่ย 2.84 (19.90/35) อุปสรรคสำคัญในการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คืองบประมาณของท้องถิ่นมีจำกัด ทัศนคติผู้บริหารท้องถิ่นต่อการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สมาชิกสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เห็นความสำคัญโดยเฉพาะกรณีเป็นท้องถิ่นขนาดเล็กมีจำนวนการออกเหตุที่ต่ำ ไม่มีความคุ้มค่าในการจัดบริการ
แนวทางการพัฒนาระบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการกำหนดเป็นนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัด ขับเคลื่อนผ่านท้องถิ่นจังหวัดเลย โดยการจัดทำแผนการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร และการจัดทำแผนที่การจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดเลย แนวทางนี้สามารถเพิ่มความครอบคลุมจากร้อยละ 38 เป็นร้อยละ 56 ของท้องถิ่นทั้งหมด
References
World Health Organization: WHO. The Emergency Care [Internet]. [cited 2023 April 18]. Available from: https://www.who.int/health-topics/emergency-care#tab=tab_1
American College of Emergency Physicians. Definition of Emergency Medicine [Internet]. [cited 2023 April 18]. Available from: https://www.acep.org/patient-care/policy-statements/definition-of-emergency-medicine
พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551. พระราชบัญญัติ. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 44 ก. ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2551.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. อำนาจหน้าที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/1/SubWebsite/?id=1430
กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น. ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [อินเตอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566].เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. ฐานข้อมูลการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. 2565. เอกสารอัดสำเนาประกอบการประชุมตรวจราชการ รอบที่ 1/2565 มกราคม 2565.
Peter Michael Senge. Theory of Participative Management [Internet]. [cited 2023 April 30]. Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/Peter_Senge
ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง; 2552.
ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ปญาดา ชื่นสาโรง และพรทิพย์ วชิรดิลก. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสู่ภาวะปกติใหม่ (EMS new normal) : แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาในการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในประเทศไทย. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. มปส; 2565.
นงลักษณ์ พะไกยะ และคณะ. การคาดการณ์ความต้องการและการวางแผนกําลังคนสำหรับระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส). มปส.; 2556.
ยุภาวดี คงดา, มุมตาส มีระมาน และกัลยา ตันสกุล. การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 10. ; 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น