สมรรถภาพสมองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี ทุมสิงห์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • กัญญา จันทร์พล ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • สดุดี ภูห้องไสย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

สมรรถภาพสมอง, ผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพสมองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 310 คน ในโรงเรียนผู้สูงอายุ 8 แห่ง สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้สถิติ Binary logistic regression

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 69.6 ± 5.6 ปี อายุน้อย-มากที่สุด 60-86 ปี เพศหญิง ร้อยละ 82.3 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 50.3 การศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยม ร้อยละ 82.6 ปัจจุบันยังประกอบอาชีพ ร้อยละ 54.5 มีโรคประจำตัวร้อยละ 54.2 สมรรถภาพสมองปกติ ร้อยละ 87.1 มีคะแนน AMT (Abbreviated Mental Test) อยู่ในช่วง 4-10 คะแนน (gif.latex?\bar{X}= 8.5, S.D. = 1.0)ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่
อายุที่มากขึ้น การไม่ได้ประกอบอาชีพ และการมีโรคประจำตัว พบว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม

สรุปผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 7 มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 12.9 ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การส่งเสริมอาชีพในผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุมีงานอดิเรกหรือกิจกรรมที่ทำในยามว่างซึ่งเป็นการส่งเสริมสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. 2566. สถิติผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2023 [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962

กรมอนามัย. กรมอนามัย ครบรอบ 71 ปี แนะ 7+1 เทคนิค ป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2023 [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/1003662/

Department of Medical Services Ministry of Public Health Thailand. Geriatric Screening and Assessment Tool Kit. Bangkok: WVO Officer of Printing Mill; 2015.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ. นนทบุรี: กองแผน กรมอนามัย; 2563.

Lwanga SK., And Lemeshow S. Sample Size determination in health studies: A practical manual. Geneva 1991; 25-42.

กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง และคณะ. การพัฒนากระบวนการคัดกรองการรู้คิดของผู้สูงอายุในชุมชน. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2020; 7(3): 99-114.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2559.

กรรณิกา อุ่นอ้าย และคณะ. สมรรถภาพสมองและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย. พยาบาลสาร 2560; 44(2): 1-11.

Miller, C.A. Nursing for wellness in older adult. [internet]. 2012 [cited 2021 November 11]. Available from: https://www.academia.edu/27665300/miller_Nursing_for_Wellness

Shing, Y. L., Werkle-Bergner, M., Brehmer, Y., Viktor, M., Lia, S.C., & Lindenberger, U. Episodic memory across the lifespan: The contributions of associative and strategic components. Neuroscience and Biobehavioral Reviews. 2010; 34(7): 1080–1091.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2554.

Erickson, K. I., Hillman, C. H., & Kramer, A. F. Physical activity, brain, and cognition. Current Opinion in Behavioral Sciences. 2015; 4: 27-32.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส จำกัด; 2551.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. การป้องกันการประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2556.

Baumgart, M., Snyder, H. M., Carrillo, M. C., Fazio, S., Kim, H., & Johns, H. Summary of the evidence on modifiable risk factors for cognitive decline and dementia: A population-based perspective. Alzheimer’s & Dementia. 2015; 11(6): 718–726.

วิลาสินี สุราวรรณ. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 10(2): 58–69

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-03