การพัฒนาศักยภาพการจัดการคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน ที่อยู่ในความดูแล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • ปราการ อภิบาลศรี สาธารณสุขอำเภอเมืองตราด

คำสำคัญ:

คุณภาพน้ำประปา, การพัฒนารูปแบบ, EHA 2001

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน ที่อยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดตราด โดยใช้กระบวนงานมาตรฐาน EHA 2001 เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ระบบประปาหมู่บ้านที่มีผลการประเมินคุณภาพน้ำไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และเกณฑ์คุณภาพน้ำดื่ม ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตราด จำนวน 4 แห่ง ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารกิจการประปา 60 คน และผู้ใช้น้ำ จำนวน 400 หลังคาเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล

ผลการศึกษา พบว่า คณะกรรมการบริหารกิจการประปา มีความรู้เกี่ยวกับระบบประปาหมู่บ้านและการจัดการระบบประปาหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 66.6 ผลการประเมินคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน พบว่า หมู่บ้านที่เข้าร่วมการพัฒนาการจัดการคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน
ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน และประชาชนผู้ใช้น้ำประปามีความพึงใจต่อการให้บริการของระบบประปาหมู่บ้านอยู่ในระดับมาก

การจะนำรูปแบบการพัฒนาคุณภาพน้ำประปา ไปใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรต้องพัฒนาทีม และคณะทำงานให้เข้าใจ และมีความตระหนักในระบบการทำงานที่ต้องแสวงหาการสนับสนุนจากเครือข่าย พร้อมทั้งควรมีการจัดทำคู่มือ แนวทางการปฏิบัติงาน ที่กำหนดขั้นตอนวิธีปฏิบัติงานที่จำเป็น เพื่อสร้างความเข้าใจ และใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละระดับให้สอดคล้อง ตรงกัน

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สรุปผลการดำเนินงานการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภค. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานการเฝ้าระวังโรคจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ. สำนักสื่อสารความเสี่ยง กรมควบคุมโรค.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดโรค. (2564). สรุปรายงานการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านจังหวัดตราด.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). คู่มือหลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. สถาบันวิจัยประกรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับซิ่ง.

สุภางค์ จันทวานิช. การวิจัยเชิงคุณภาพ. (2561).โครงการเอกสารและตำรา ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 24) กรุงเทพฯ.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์. 2534.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). ระบบสุขภาพภาคประชาชน: แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน: นนทบุรี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. (พิมพ์ครั้งที่ 6)กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.

กรมสนับสนุนสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2549). ระบบสุขภาพภาคประชาชน: แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน. นนทบุรี.

วิริยา เอี่ยมวิบูลย์. (2540). ศักยภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลวิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันพัฒนบริหารศาตร์ (นิด้า).

เฉลิมพล กาละพงษ์, จ่าเอกเชิดศักดิ์ ผิวเกลี้ยง และสุภาภรณ์ หลักรอด. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพน้ำประปาโดยใช้กระบวนการจัดการคุณภาพน้ำประปา EHA 2001: กรณีศึกษา เทศบาลเมืองสองพี่น้อง. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ปีที่ 1: ฉบับที่ 1 (ต.ค. 61-ม.ค. 62).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-08