ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2566

ผู้แต่ง

  • วีระวรรณ เหล่าวิทวัส สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • เอมวิกา แสงชาติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเสียชีวิต, ปัจจัย, วัณโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ใช้รูปแบบการวิจัยแบบย้อนหลัง (Retrospective Cohort Analysis Study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวัณโรคอายุ 15 ปีขึ้นไปที่รักษาหาย และเสียชีวิตด้วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนในโปรแกรม NTIP (National Tuberculosis Information Program) กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565–18 กันยายน 2566 ของพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 550 ราย ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ (chi-square) และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) อายุ 2) การติดเชื้อ HIV 3) ตำแหน่งของการติดเชื้อวัณโรค และ 4) การมีโรคร่วม คือ โรคไตเรื้อรัง (CKD) และโรคตับ

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคควรนำข้อมูลด้านปัจเจกบุคคลของผู้ป่วย เช่น ผู้สูงอายุ การมีโรคประจำตัว การตรวจหาเชื้อ HIV มาประกอบการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วยเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค

References

กรมควบคุมโรค กองวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564 (NTP: National Tuberculosis Control Program Guideline, Thailand 2021.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

กรมควบคุมโรค กองวัณโรค. แนวทางบริหารจัดการและการปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการด้านวัณโรค. (Management and practice guideline for tuberculosis laboratory).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

กรมควบคุมโรค สำนักโรคเอดส์. แนวทางการปฏิบัติการผสมผสานวัณโรคและเอดส์ พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เจ.เอส.การพิมพ์; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. เอกสารประกอบการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565.

ศิโรตม์ จันทรักษา. ลักษณะและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563; 8(12).

จันทร์ชนก กิตติจันทโรภาส. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562;5(3). สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

จิตติพร มากเมือง และคณะ. ปัจจัยเกี่ยวเนื่องการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค ณ โรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2559; 8(1).

ราเมศ คนสมศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2560.

ฐานันดร์ ฐานวิเศษ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2563; 20(1)

นาบีละห์ สาแม และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในมุสลิมที่ป่วยเป็นวัณโรคปอด.วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 2561; 13(25).

อัจฉรา รอดเกิด. สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณ โรคจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562; 33(1).

Ante M., Mateja J. Nontuberculous Mycobacterial Pulmonary Disease. Pulmonaryinfection [Internet]. 2012 [cited 7 Apr 2017]; 15 (1):[about 1 p.]. Available from: https://www.intechopen.com/books/pulmonary-infection/nontuberculous-

mycobacterial-pulmonary-disease Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 13. Core Curriculum on Tuberculosis: What the Clinician Should Know. Sixth Edition.Atlanta, United States of America: CDC; 2013.

Collins FM. Relative susceptibility of acid-fast and non-acid-fast bacteria to ultraviolet light.ApplMicrobiol 1971; 21: 411-3.of America; 2012.

World Health Organization.Global Tuberculosis Report 2021. Geneva, Switzerland: WHO; 2021. World Health Organization.The END TB Strategy. Geneva, Switzerland: WHO; 2016.

World Health Organization. WHO global lists of high burden countries for tuberculosis(TB), TB/HIV and multidrug/rifampicin-resistant TB (MDR/RR-TB), 2021-2025. Geneva, Switzerland: WHO; 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-30