การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลแพร่
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพ, การบันทึกทางการพยาบาล, การบันทึกแบบชี้เฉพาะบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่ โดยใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องโฟกัส-พีดีซีเอ กลุ่มประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพทีมพัฒนาคุณภาพ 4 คน และพยาบาลวิชาชีพทีมปฏิบัติการบันทึก 28 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บันทึกทางการพยาบาลผ่าตัดของผู้ป่วยในที่เข้ารับการผ่าตัดแผนกผ่าตัดสูติกรรม และแผนกผ่าตัดกระดูกและข้อ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 แผนกละ 40 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แนวคำถามปัญหาการบันทึกทางการพยาบาล 2) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาล 3) แบบบันทึกแบบชี้เฉพาะ และคู่มือการบันทึกทางการพยาบาลห้องผ่าตัดแบบชี้เฉพาะ และ 4) แบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลของห้องผ่าตัดแผนกผ่าตัดสูติกรรมและของห้องผ่าตัดแผนกผ่าตัดกระดูกและข้อ มีความครบถ้วนสมบูรณ์ตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 93.25 และร้อยละ 89.00 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ มากกว่าร้อยละ 80.00
จากผลการศึกษา ควรนำแบบบันทึกและคู่มือการบันทึกทางการพยาบาลห้องผ่าตัดแบบชี้เฉพาะ ไปประยุกต์ใช้ในแผนกอื่นๆ ต่อไป และทีมพัฒนาคุณภาพควรมีการประเมินคุณภาพการบันทึกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลห้องผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง
References
ปราณี อัศวรักษ์. บันทึกทางการพยาบาล: หลักการบันทึกเพื่อการใช้ประโยชน์ทางกฎหมาย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2555; 5: 24-32.
Asmirajanti M, Hamid AYS, Hariyati, RTS. (2019). Nursing care activities based on documentation. BMC Nursing 2019; 18: 1-5.
สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง มาตรฐานการพยาบาล (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ, 30-36). กรุงเทพฯ: สภาการพยาบาล; 2562.
Maraki F, Irani M, Akbari L, Aarabi A. (2019). The effects of using intraoperative care documentation forms on the number of reported errors. Nursing and Midwifery Studies 2019; 8: 137-142.
McLaughlin CP, Kaluzny AD. Continuous quality improvement in health care: theory, Implement,and application. London: Jones and Barlett Publishers; 1999.
จิดาภา ปิติพัฒน์ และรินทร์ลภัส ใสยันต์. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูหลวง จังหวัดเลย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2563; 23: 28-37.
อรวรรณ ณ ลําปาง และดอกไม้ บุตรดา. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลบางกรวย. วารสารการวิจัยการพยาบาลและสาธารณสุข 2564; 1: 31-44.
Association of peri Operative Registered Nurses. Perioperative standards and recommended practices. Washington, DC: Association of peri Operative Registered Nurses; 2009.
ยุวดี เกตสัมพันธ์. เอกสารประชุมวิชาการ บันทึกทางการพยาบาลมุมมองด้านวิชาชีพและกฎหมาย. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.siamnurse.blogspot.com/p/focus.charting.html
ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลแพร่. แบบประเมินคุณภาพการบันทึกการพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่ ปี 2564. แพร่: ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลแพร่; 2564.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. โรงพิมพ์ยูเนียน; 2557.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2553.
อภิวัน ชาวดง. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
วราภรณ์ ภัทรมงคลเขตต์ และพร บุญมี. การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการพยาบาล 2560; 18: 123-136.
ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. การพัฒนาสมรรถนะการบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการบันทึกแบบชี้เฉพาะต่อความสมบูรณ์คุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล ความรู้ และความ
พึงพอใจของพยาบาล หอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2564; 6: 1-13.
Staub M, Needham I, Odenbreit M, Ann Lavin M, Van Achterberg T. Improved quality of nursing documentation: Results of a nursing diagnoses, interventions, and outcomes implementation study. International Journal of Nursing Terminologies and Classifications 2007; 18: 5-17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น