สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าที่จำหน่ายในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • บุญเลี้ยง สุพิมพ์ ฺสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เลขที่ 234 ถ.เลย-เชียงคาน ต.เมือง อ.เมือง จ.เลย 42000 https://orcid.org/0000-0002-1477-9786
  • ปนัดดา มหาสิงห์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
  • มนต์นภา สุขสบาย สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
  • ธิดารัตน์ ศรีกลับ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
  • ปิยะพงษ์ ชุมศรี สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
  • อรทัย ปานเพชร สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000

คำสำคัญ:

เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้า, สารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย, การปนเปื้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าที่จำหน่ายในอำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 30 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจเกี่ยวกับเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้า และตรวจสอบ
การปนเปื้อนด้วยชุดทดสอบสารไฮโดรควิโนน, สารปรอท, กรดเรติโนอิก, และสเตียรอยด์เบื้องต้น

ผลการวิจัย พบว่า เครื่องสำหรับผิวหน้ามีการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย ร้อยละ 56.67 โดยสารที่พบการปนเปื้อนมากที่สุด คือ สเตียรอยด์ (ร้อยละ 36.67) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ สีเครื่องสำอาง (p-value = 0.004) และการกล่าวอ้างสรรพคุณสามารถลดฝ้าและกระ (p-value = 0.034) มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนไฮโดรควิโนน การไม่มีข้อห้ามใช้หรือข้อควรระวัง (p-value = 0.037) มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนปรอท การไม่มีเลขที่จดแจ้ง (p-value = 0.023) การไม่มีวัน/เดือน/ปีที่ผลิต (p-value = 0.023) มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนกรดเรทิโนอิก การไม่มีวัน/เดือน/ปีที่หมดอายุ มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนกรดเรทิโนอิก (p-value = 0.042) และการปนเปื้อนสเตียรอยด์ (p-value = 0.002)

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการแจ้งเตือนให้ผู้บริโภคได้พิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องสำอางที่มีการปนเปื้อนสารห้ามใช้

References

กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ. 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cosmetic.fda.moph.go.th/interesting-law/category/cosmetic-laws

โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. อันตรายหามใช้จากสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/04072016-

เอมวดี บุญประชุม, น้ำริน อยู่กิจติชัย, นิสสรณ์ เอกบุตร, นุชจิรา พงศ์นิมิตประเสริฐ, นพรัตน์ นันทรัตนพงศ์. การตรวจสอบสารปรอทแอมโมเนียและไฮโดรควิโนน ในครีมทาหน้าขาวที่วางจําหน่ายใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 2556; 8(1): 1–8.

นวลพรรณ ไพบูลย์ศรีนครา, นันทนา กลิ่นสุนทร, เบญจพร พุฒคำ. สารห้ามใช้ที่ปลอมปนใน เครื่องสําอางชนิดครีมทาผิว. วารสารอาหารและยา 2557; 21(3): 18–23.

นันทนา กลิ่นสุนทร, ชมพูนุท นุตสถาปนา, ตวงพร เข็มทอง, ปริชญา มาประดิษฐ. สารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ทาสิว ทาฝ้า ทำให้หน้าขาวในเขตภาคกลางตอนล่างระหว่างปี 2553-2556. วารสารอาหารและยา 2556; 20(3): 28–36.

Ho YB, Abdullah NH, Hamsan H, Tan E. Mercury contamination in facial skin lightening creams and its health risks to user. Regulatory toxicology and pharmacology: RTP 2017; 88: 72–76.

ธีรยา วรปาณิ, ปองพล วรปาณิ. การสำรวจปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจและพฤติกรรม

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของประชาชนในจังหวัดตาก, วารสารเภสัชกรรมไทย 2560; 13(4): 38–48.

เกษร ประสงค์กูล, ชิดชนก เรือนก้อน. การวิเคราะห์สถานการณ์การปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอาง สำหรับผิวหน้าในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2559. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560; 9(2): 361–369.

วิสิฐศักดิ์ วุฒิอติเรก, วชิราภรณ์ พุ่มเกตุ. การตรวจสอบปริมาณสารปรอทในครีมทาหน้าที่จำหน่ายในพื้นที่เทศบาลนครสวรรค์. วารสารอาหารและยา 2559; 23(1): 28–33.

ปัทมา เสนทอง, กัญธิมา หล่าดอนดู่, ภัทรดนัย มานะสุวรรณ, ฐิติมา ชุมสุข, จิณณพัต ลืมกลืน, วริศรา สีแสง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบสารปรอท ไฮโดรควิโนน กรดเรติโนอิก และ สเตียรอยด์ในครีมทาหน้า ที่วางจำหน่ายในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิต) 2565; 22(4): 233–243.

ศรินทร สำอางเนตร, ชิดชนก เรือนก้อน. ความชุกของเครื่องสาอางต้องสงสัยที่พบสารห้ามใช้ที่จำหน่ายในอำเภอชายแดนของเขตสุขภาพที่ 10. วารสารเภสัชกรรมไทย 2564; 13(1): 31–43.

Gbetoh MH, Amyot M. Mercury, hydroquinone, and clobetasol propionate in skin lightening products in West Africa and Canada. Environmental research 2016: 150; 403–410.

Hamann CR, Boonchai W, Wen L, Sakanashi EN, Chu CY, Hamann K, Hamann CP, Sinniah K, Hamann D. Spectrometric analysis of mercury content in 549 skin-lightening products: is mercury toxicity a hidden global health hazard?. Journal of the American Academy of Dermatology 2014; 70(2): 281–783.

Irfan M, Shafeeq A, Siddiq U, Bashir F, Ahmad T, Athar M, Butt MT, Ullah S, Mukhtar A, Hussien M, Lam SS. A mechanistic approach for toxicity and risk assessment of heavy metals, hydroquinone and microorganisms in cosmetic creams. Journal of hazardous materials 2022; 433.

วรรษพร คงชื่น, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. การพัฒนาเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้า. วารสารเภสัชกรไทย 2564; 13(4): 814–824.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11