การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่ในสถานบริการสาธารณสุข ทุกระดับศูนย์เด็กเล็กปฐมวัยและสถานศึกษาในเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • สุจิรา ขวาแซ้น ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่, ความรู้ในการดูแล, ส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Study) ครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อทดลองใช้รูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่ได้รับความรู้จากหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ที่พัฒนาขึ้น จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม คือ บิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็กซึ่งไม่ได้เข้าหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้านความรู้ ด้วย Independent t-test

ผลการวิจัยทดลองใช้หลักสูตรและรูปแบบปรับปรุง พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีคุณลักษณะทั่วไปใกล้เคียงกัน เพศ อายุ เป็นบิดา/มารดาของเด็ก สถานภาพสมรส โดยความรู้ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ 25.10±2.75 คะแนน สูงกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งมีคะแนน 21.73±3.19 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า p-value < 0.001

ข้อเสนอแนะ ควรจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่อย่างครอบคลุมทุกหน่วยบริการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัย โดยปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับบริบทของตนต่อไป

References

จินตนา พัฒนพงศ์ธร. คู่มือโรงเรียนพ่อแม่เพื่อลูกรัก “สุขภาพดี สมองดี อารมณ์ดี มีความสุข”. กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นิวธรรมดาการพิมพ์; 2559.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, ชัยชนะ บุญสุวรรณ และนฤมล เจริญวัชร. พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี 2557. สำนักส่งเสริมสุขภาพ. กรมอนามัย. เอกสารอัดสำเนา. 2558.

กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). 2559.

หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรติ วรเดช. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(1): 281-296.

เจริญ โอภาสเสถียร. การประยุกต์ใช้รูปแบบโรงเรียนพ่อแม่ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักการพัฒนาสมองในการดูแลสตรีตั้งครรภ์แรก โรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560; 28(2): 140-152.

จิตเกษม สุวรรณรัฐ. การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง: การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์หน่วยผลิต: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2549.

ศิริพงษ์ สวัสดิ์มงคล. ตำราสูติศาสตร์: การฝากครรภ์. กรุงเทพฯ: พีลิฟวิ่ง; 2548.

พิชญภัสสร์ ไหลรุ่งเรืองสกุล. รูปแบบการสอนโรงเรียนพ่อแม่ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain based learning) ในคลินิกเด็กดีของสถานบริการสาธารณสุขนำร่องในสระบุรี. 2560.

ทัศนีย์ รอดชมภู. สถานการณ์เรื่องพัฒนาการเด็ก 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตบริการสุขภาพที่ 7 และ 8 ปีงบประมาณ 2557. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น 2557; 1: 16-24.

นภาพร กันธิยะ. การพัฒนาระบบการให้การปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น 2556; 2: 179-180.

ศิริกุล อิศรานุรักษ์. รายงานการประเมินผลโครงการจัดบริการคลินิกสุขภาพเด็กดีคุณภาพครั้งที่ 1. นครปฐม. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. รายงานการตรวจราชการปีงบประมาณ2559. เอกสารอัดสำเนา. 2559.

พรรณนภา แมดสถาน. ผลของการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดบริการฝากครรภ์และคลินิกเด็กดีคุณภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น 2558; 1: 50-56.

จรวยพร แดงโชติ. การใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. สุทธิปริทัศน์ 2557; 28(88): 80-98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-30