การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำรูปแบบดริพและชิฟ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน, รูปแบบดริพและชิฟ, การพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำรูปแบบดริพและชิฟ (Drip and ship model) ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 2 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบบันทึกข้อมูลรวบรวมจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล และข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาลเพื่อค้นหาปัญหา กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล และวางแผนการพยาบาล วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและส่งต่อไปที่โรงพยาบาลแม่ข่ายมีระยะเวลาเริ่มมีอาการจนได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Onset to needle time) 160 นาที และ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉินจนได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Door to needle time) 40 นาที กรณีศึกษารายที่ 2 ได้รับการรักษาด้วยยาละลาย
ลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ และส่งต่อไปที่โรงพยาบาลแม่ข่าย มี onset to needle time 58 นาที และ door to needle time 34 นาที
References
World Health Organization. World Stroke Day 2022. [Internet]. 2022 [cited 1 Sep 2023]; Available from: https://www.who.int/srilanka/news/detail/29-10-2022-world-stroke-day-2022
Lyden PD. Thrombolytic therapy for acute ischemic stroke a very great honor. American Heart Association 2019; 50(9): 2597-2603.
วิภาพร ตรีสุทรรศน์. ผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลสิงห์บุรี. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร 2563; 29(2): 13-25.
ทัศนีย์ จินตกานนต์. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารแพทย์เขต 4-5 2562; 38(2): 31-41.
ทัศนีย์ จินตกานนต์. ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันด้วย Recombinant tissue-type plasminogen activator. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2562; 36(3): 227-235.
Saini V, Guada L, Yavagal DR. Global epidemiology of stroke and assess to acute ischemic stroke interventions. American academy of neurology 2021; 97(1): s6-s16.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศ. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศ 2566; 39(2): 39-46.
Fisher M. Developing and implementating future stroke therapies: the potential of telemedicine. Ann Neurol 2005; 58: 666-671.
พรภัทร ธรรมสโรช. การพัฒนาเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเดือดสมอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย 2558; 14(1): 14-22.
พัสตราภรณ์ ปัญญาประชุม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารักษาในโรงพยาบาลที่ใช้ระบบเครือข่ายการส่งต่อช่องทางด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. 2559. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรศาสตร์.
Sheth, K, Smith, E, Grau-Sepulveda, M, Kleindorfer, D, Fonarow, G, & Schwamm, L. Drip and ship thrombolytic therapy for acute ischemic stroke: use, temporal trends, and outcomes. Stroke. 2015; 46: 732-739.
Hasan, T.F., Rabinstein, A.A., Middlebrooks, E.H., Haranhall, N., Silliman, S.L., Meschia,J.F., et al. Diagnosis and Management of acute ischemic stroke. Mayo foundation for medical education and research 2018; 93(4): 523-538.
Regenhardt RW, Rosenthal JA, Awad A, Martinez-Gutierrez JC, Nolan NM, McIntyre JA, Whitney C, Alotaibi NM, Dmytriw AA, Vranic JE, Stapleton CJ, Patel AB, Rost NS, Schwamm LH, & Leslie-Mazwi TM. 'Drip-and-ship' intravenous thrombolysis and outcomes for large vessel occlusion thrombectomy candidates in a hub-and-spoke telestroke model. J Neurointerv Surg 2022; 14(7): 650-653.
พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ :การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์อักษร จำกัด; 2555.
Kuriakose, D., & Xiao, Z. Pathophysiology and treatment of stroke: present status and future perspectives. International Journal of Molecular Sciences 2020; 21(20).
บุษกร สีหรัตนปทุม. การป้องกันสมองขาดเลือดเฉียบพลันสำหรับวัยทำงานที่สูบบุหรี่ในสถานประกอบการเขตเมือง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563; 64(6): 419-428.
Campbell, B.C.V., De Silva, D.A., Macleod, M.R., Coutts, S.B., Schwamm, L. H., Davis,S.M. et al. Ischemic stroke. Nature Reviews Disease Primers 2019; 5(1).
เสาวลักษณ์ ไชโย. ปัจจัยที่ทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน. 2557. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี และสินีนาฏ นาคศรี. ความสัมพันธ์ของระดับความรุนแรงของโรคกับอาการทางระบบประสาทที่แย่ลงในระยะแรกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบหรือตันแบบเฉียบพลัน. วารสารโรคหัวใจและทรวงอก 2564; 32(2): 146-156.
Hasan, T.F., Rabinstein, A.A., Middlebrooks, E.H., Haranhall, N., Silliman, S.L., Meschia,J.F., et al. Diagnosis and Management of acute ischemic stroke. Mayo foundation for medical education and research 2018; 93(4): 523-538.
Schaik SM, Scott S, Lau LML, Berg-Vos RMVD, Kruyt ND. Short door to needle time in acute ischemic stroke and prospective identification of its delays factors. Karger 2015; 5: 75-83.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น