การพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้นต่อความรู้และพฤติกรรมการจำกัดน้ำของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • เพ็ญจันทร์ นันทะชัย โรงพยาบาลลำพูน
  • เมธาวี ดวงแก้ว พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลลำพูน
  • ทิวากร สุภากาศ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้น, การจำกัดน้ำ, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้น และศึกษาผลของโปรแกรมด้านความรู้ พฤติกรรมการจำกัดน้ำ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย รับการรักษาด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2566 จำนวน 28 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบวัดความรู้การจำกัดน้ำ และแบบวัดพฤติกรรมการจำกัดน้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired Sample t-test

ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้น สร้างขึ้นโดยใช้กระบวนการสอนสุขภาพ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การใช้ตัวแบบที่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมน้ำ 2) การให้ความรู้โดยการสนทนา การสาธิต และการฝึกปฏิบัติ และ 3) การติดตามการดื่มน้ำ และอาหารในชีวิตประจำวัน ผลของโปรแกรม พบว่าหลังการใช้โปรแกรมกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมีความรู้การจำกัดน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (t=-9.137, P-value=.000) และมีพฤติกรรมการจำกัดน้ำที่ดีขึ้นอยู่ในระดับดีมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=-24.538, P-value=.000)

กล่าวได้ว่า โปรแกรมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ด้วยตนเองในการควบคุมภาวะน้ำเกิน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

สมชาย เอี่ยมอ่อง, ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์, ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์, ขจร ตีรณธนากุล, เกรียง ตั้งสง่า และเกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. Hemodialysis Renal Replacement Therapy. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2556.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยไตเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

Depner TA, Daugirdas JT. Clinical practice guidelines for hemodialysis adequacy. Am J Kidney Dis 2006; 8(1): 2-9.

วนิดา คู่เคียงบุญ. การจัดการกับภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Wizemann V, Wabel P, Chamney P, Zaluska W, Rode C, Malecka- Masalska T. The mortality risk of overhydration in haemodialysis patients. Nephrol Dial Transplant 2009; 24(5): 1574-1579.

ชัยรัตน์ ฉายากุล. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2557.

Valsara BP, Bhat SM, Prabhu R, Dinesh NA. Qualitative research on the Experience of Haemodialysis in South Karnataka: Lived Experience of Persons Undergoing Haemodialysis. Journal of Krishna Institute of Medical Sciences University 2014; 3(2): 90-100.

Boudville N. Increased sodium intake correlates with greater use of antihypertensive agent by subjects with chronic kidney disease. American Journal of Hypertension 2016; 18(10): 1300-1305.

Mark, V. Relationship of Functional Health Literacy to Patients Knowledge of Their Disease. Archives of Internal Medicine 2018; 25(2): 166-172.

Mason, J. (2015). Educational interventions in kidney disease care: A systematic review of randomized trials. American Journal of Kidney Diseases. 2015; 11(6): 933-951.

หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน. รายงานตัวชี้วัดหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน. ลำพูน: หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน; 2565.

Bloom, B.S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Grow Hill Book Company; 1998.

สุภาพร ไชยวัฒนตระกูล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2561; 5(2): 131-145.

กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง และประเสริฐ ประสมรักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ได้รับการบาบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 4(4): 485-503.

รัตนา เสือสุ่ม. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมนํ้า และ การเปลี่ยนแปลงนํ้าหนักตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29