การเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลกับค่าเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับของสามเณร ในโรงเรียนปริยัติธรรม จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพการนอนหลับ, สามเณร, โรงเรียนปริยัติธรรม, อุบลราชธานีบทคัดย่อ
คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีสัมพันธ์กับการทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับ และเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลกับค่าเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับของสามเณรในโรงเรียนปริยัติธรรม จังหวัดอุบลราชธานี เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยการสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 รูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One-Way ANOVA กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระยะเวลาในการบวชมากที่สุด 1-2 ปี ร้อยละ 40.4, คุณภาพการนอนหลับโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 57.4 และระดับไม่ดี ร้อยละ 42.6, ร้อยละ 71.0 ของกลุ่มตัวอย่างถูกรบกวนการนอนหลับ โดยมีค่าคะแนนระหว่าง 1-9 คะแนน มีคุณภาพการนอนหลับเชิงอัตนัยในระดับดีมาก ร้อยละ 62.1 และมีประสิทธิภาพการนอนมากกว่า 85% ร้อยละ 55.5
ผลการวิเคราะห์ One-Way ANOVA พบว่า ค่าเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับระหว่างกลุ่มอายุ ระยะเวลาการบวช และโรคประจำตัวไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ: กลุ่มตัวอย่างบางส่วนมีปัญหาการนอนหลับจากการถูกรบกวนภายใต้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ นอนหลับยาก ดังนั้น จึงควรมีการแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลากร, นิชรา เรืองดารกานนท์, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, หทัยชนก พรรคเจริญ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ฉบับสุขภาพเด็ก ปี 2551-2552. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2552.
Harrison YHJ. The impact of sleep deprivation on making a review. J Exp Psychol Appl. 2000; 6: 236-249.
เจาะลึกระบบสุขภาพ. กรมอนามัยแนะ 10 วิธี หลับให้ดีมีสุขอนามัย พร้อมเผยช่วงอายุไหนควรนอนกี่ชั่วโมง [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567]; เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2022/03/24640#:~:text=%E2%80%8Bกรมอนามัยเผยนอน,นอนเฉลี่ย%207-8%20ชม.
สถาบันรามจิตติ. โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัดราชบุรี และโครงการวิจัยเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์มหภาค สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ (สสส.); 2552.
รัชฎาภรณ์ แก้วสีงาม, สุวลี โล่วิรกรณ์. ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการฉันภัตตาหารของสามเณรที่ศึกษาในโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วัดศรีษะเกษ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 10(1):28-37.
วิกีพีเดีย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ_(ประเทศไทย)
Daniel WW. Biostatistic : a foundation for analysis in health sciences. 6th Edition. Singapore. John Willey & Sons, Inc; 1995.
ถิรพร ตั้งจิตพร. ภาวะนอนไม่หลับในเด็กและวัยรุ่น [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.childrenhospital.go.th/wp-content/uploads/2023/04/Insomnia-ปัญหานอนไม่หลับในเด็กและวัยรุ่น.pdf
Buysse DJ, Reynolds CF, Monk TH, Berman SR, Kupfer DJ. The Pittsburg Sleep Quality Index : a new instrument for psychiatric practice and research. Psychiatry Res. 1989; 28(2):193-213.
ตะวันชัย จิรมุขพิทักษณ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540; 42(3): 123-132.
Bailey KD. Method of Social Research. 3rd Edition. New York. The Free Press; 1987:67.
Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika; 1951; 16: 297-334.
Eric S, Abhinav S. Stages of Sleep : What happens in a sleep cycle [serial on the internet]. 2023 Nov [cited 2023 Nov 28]:[about 3 p.]. Available from: https://www.sleepfoundation.org/stages-of-sleep.
นฤชา จิรกาลวสาน. นอนอย่างไรให้สุขภาพดี [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.chula.ac.th/news/45728/
สุนีย์ สหัสโพธิ์. โภชนบำบัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://cr3.go.th/wp-content/uploads/2020/07/พรบการศึกษาแห่งชาติ.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น